13 สิงหาคม 2552

เทคนิคสีน้ำ๒

มารู้จักสีน้ำ...
May 24, '07 9:59 AMfor everyone

การให้แสง-เงาด้วยเทคนิคสีน้ำ เหมาะกับการวาดภาพวัตถุที่เป็นเงา เปียก โปร่งแสง หรือโปร่งใส ตัวอย่างวัตถุประเภทนี้ เช่น ใบบอน ใบบัว งู สีน้ำแสดงแสง-เงาของวัตถุที่พื้นผิวเป็นลอน เป็นคลื่น เช่น กะโหลก กระดูก และเปลือกหอยได้ดี นอกจากนี้เทคนิคสีน้ำแบบ dry brush ใช้กับวัตถุที่มีรายละเอียดมาก เช่น ผีเสื้อ และแมลงเล็กๆ ได้อีกด้วย สิ่งสำคัญที่สร้างความแตกต่างให้ภาพสีน้ำ ได้แก่ กระดาษ มีข้อควรคำนึงถึงในการเลือกใช้กระดาษดังนี้
มีพื้นผิวขรุขระมากน้อยตามขนาดและรายละเอียดของภาพ หากภาพมีขนาดเล็ก และรายละเอียดมากควรใช้กระดาษที่มีผิวค่อนข้างเรียบ
ความหนาของกระดาษพอสมควร สามารถรับน้ำและรอยลบได้
ทนความชื้น ไม่บิดงอ จนเสียรูป ทนแสงและอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ไม่เหลืองเมื่อทิ้งไว้นาน อย่างไรก็ดี ภาพที่จะต้องทิ้งไว้นาน ควรติดลงบนกระดาษแข็งประเภท photo board และควรติดด้วยกาวน้ำคุณภาพดี อย่าติดแน่นเกินไป เพราะหากต้องนำไปตีพิมพ์ โรงพิมพ์จะต้องแกะภาพออกและภาพอาจเสียหายได้สำหรับสี อาจใช้หมึก (ink) เช่น indian ink หรือใช้สีน้ำ (watercolor paint) สีน้ำมี 2 ลักษณะ คือ สี้นำบรรจุหลอด (tube paint) และสีน้ำแบบถาด (cake color) ข้อดีของสีน้ำแบบหลอดคือ เก็บได้ง่ายและสะดวกกว่า (หากทิ้งไว้นาน เปิดฝาไม่ออกอาจจุ่มในน้ำอุ่นสักครู่จะเปิดได้ง่ายขึ้น) แต่ข้อเสีย คือ มองไม่เห็นสีที่จะเลือกใช้ ต้องบีบออกจากหลอด ในขณะที่สีถาดนั้นเลือกสีได้ง่ายกว่า แต่เปื้อนได้ง่ายเช่นกัน ต้องล้างพู่กันให้สะอาดทุกครั้งที่จุ่มสีใหม่ และถ้าเก็บไว้นานต้องระวังฝุ่นลงไปในสี หากมีฝุ่นอยู่ในสี เมื่อวาดลงบนกระดาษจะเป็นรอยที่ไม่พึงปรารถนา เอาออกได้ยาก สีหลอดที่ใช้ได้ดี คือ ยี่ห้อ Winsor & Newton และ Grumbacher ส่วนสีถาดที่เป็นที่นิยมคือ Pelikan และ Winsor&Newton สำหรับสีขาวมักใช้ Titanium White หรือ Chinese white เพื่อวาดไฮไลท์ ใช้ลบที่ผิด หรือวาดสีขาวลงบนพื้นหลังสีดำ การเลือกซื้อสี ควรเลือกสีคุณภาพดีที่สุดเท่าที่งบประมาณอำนวย การเลือกสีพิจารณาที่ความโปร่งแสงและเนื้อสี สีที่ข้นมากๆ อาจมีส่วนผสมที่ไม่ใช่เนื้อสีจึงไม่เป็นที่ต้องการ
สำหรับเครื่องมือสำคัญ ได้แก่
พู่กัน พู่กันกลมที่ดีจะสามารถลูบให้ปลายแหลมได้เมื่อเปียก ควรอมน้ำมากๆ เพื่อจะได้จุ่มสีได้มาก ไม่ต้องจุ่มสีบ่อยๆ เมื่อต้องการลากเส้นยาวๆ ขนพู่กันอาจทำด้วยขนหางม้า หรือขนอูฐ ควรเลือกขนาดพู่กันให้เหมาะสมกับขนาดภาพ สำหรับพู่กันปลายตัดที่ใช้มาก ได้แก่ ความกว้าง 6, 15 และ 25 มิลลิเมตร พูกันยี่ห้อที่นิยมใช้ได้แก่ Winsor&Newton serie 7 การใช้พู่กันอย่างถูกวิธีจะช่วยให้พู่กันมีอายุใช้งานยาวนานขึ้น ห้ามวางพู่กันทิ้งไว้ในขวดล้างเด็ดขาด ทุกครั้งที่วางให้วางนอนหรือตั้งปลายขึ้น และหากเก็บไว้นานๆ ให้จุ่มน้ำสบู่ จัดปลายให้แหลมทิ้งไว้ให้แข็ง หากจะเก็บในกล่องควรมัดรวมกัน โดยให้ปลายพูกันหันเข้าข้างใน โดยมีด้ามยื่นออกสลับทางกัน ปลายขนพู่กันจะได้ไม่กระทบกล่อง ซึ่งจะทำให้เสียรูป
จานสี อาจใช้ถาดหลุมพลาสติก หรือใช้จานกระเบื้องเคลือบสีขาวก็ได้ ในการผสมสีลงในจานสี ต้องผสมให้พอใช้ในแต่ละครั้ง เพราะหากผสมขาดอาจผสมใหม่ได้ไม่เหมือนเดิม และหากต้องเก็บข้ามวันก็ไม่จำเป็นต้องล้างสีออกทุกครั้ง โดยทิ้งให้สีแห้งแล้วเติมน้ำเมื่อจะใช้คราวต่อไป แต่หากมีฝุ่นลงไป ต้องล้างทิ้งทุกครั้ง เพราะฝุ่นจะทำให้เกิดรอยบนภาพอย่างที่ได้กล่าวแล้ว
ดินสอ ดินสอที่ใช้ในการร่างภาพสำหรับวาดสีน้ำ ควรเป็นดินสอแหลม และแข็ง เช่น 2H, H หรือ HB
ยางลบ ยางลบที่ควรมีคือ ยางลบสำหรับลบรอยดินสอร่างภาพ อาจมียางลบเพื่อลบรอยสีน้ำ ได้แก่ Pelikan plastic imbibed eraser รุ่น PT20 ด้วย
กระดาษทิชชู หรือ ผ้าขี้ริ้ว สำหรับซับสีที่เกิน และทำความสะอาดโต๊ะ
ขวดใส่น้ำล้างพู่กัน เทคนิคการวาดภาพสี้นำมี 2 เทคนิค ได้แก่ แบบกระดาษเปียก คือลงสีผสมน้ำบนกระดาษเปียก (wet-on-wet technique) และแบบกระดาษแห้ง คือลงสีผสมน้ำบนกระดาษแห้ง (wet-on-dry หรือ dry brush)

ขั้นตอนการวาดภาพสีน้ำ
ร่างภาพอย่างละเอียดชัดเจน ต้องลงตำแหน่งเสง-เงา ให้เรียบร้อย แล้วลอกภาพด้วยดินสอ 2H ถึง HB
เตรียมกระดาษทิชชูไว้ซับน้ำส่วนที่เกิน ใช้พู่กันขนาดใหญ่ลงน้ำบนกระดาษพอให้กระดาษชื้น อย่าให้มีน้ำแฉะ บริเวณขอบให้ลงน้ำเกือบถึงขอบ และอย่าให้มีจุดแห้งบนกระดาษ ภาพขนาดใหญ่ต้องชื้นมาก เพราะต้องวาดภาพทั้งภาพ หรือทั้งส่วนพร้อมๆกัน โดยไม่ให้น้ำแห้งก่อน สำหรับคนถนัดขวาให้วาดจากด้านซ้ายบนลงขวาล่าง คนถนัดซ้ายวาดจากด้านขวาบนลงซ้ายล่าง ลากสีเป็นเส้นยาวจนสุดขอบแล้ววกกลับเหลื่อมกับเส้นสีเดิม เพื่อไม่ให้เกิดรอย สีควรกลืนกันไปตลอดทั้งส่วน
ลงสีอ่อนก่อน แตะสีที่เกินบนจานสี หรือขวดน้ำ ส่วนที่เป็นไฮไลท์เว้นขาวไว้ ลงสีโดยเริ่มจาก middle tone ไปยังส่วนมืดที่สุดบนวัตถุ เข้าไปยังส่วนมืดด้านที่มีแสงสะท้อนจากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงลงที่เงาวัตถุจากนั้นจึงเติมพื้นผิว
บริเวณที่ติดกันเป็นวัตถุต่างชิ้น ต้องรอให้สีแรกแห้งก่อน แล้วจึงลงสีถัดไป เพื่อไม่ให้สีซึมเข้าหากัน
รายละเอียดเติมได้ด้วยพู่กันเล็ก นอกจากนี้อาจเติมสีขาว ดินสอ ผงถ่าน ฯลฯ ตามความเหมาะสม สำหรับการสร้างพื้นผิวแบบต่างๆ อาจใช้ dry brush โดยรอให้สีเดิมแห้งก่อน แล้วจึงลงสีใหม่ มีหลายเทคนิคที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น ทำให้ปลายพู่กันบานออกจากกันแล้วจุ่มสีวาด ใช้ฟองน้ำ หรือ สำลีพันปลายไม้ หรือโรยเกลือ เป็นต้น
หากต้องมีเส้นขอบ ควรทำเป็นลำดับสุดท้าย โดยใช้สีเข้มกว่าวัตถุเป็นเส้นขอบ เช่น ถ้าวัตถุเป็นสีแดง ก็ใช้เส้นขอบสีเลือดหมู เป็นต้น
สำหรับเงาของวัตถุ ลงสีโดยเริ่มจากสีเข้มไปหาสีอ่อน (ตรงข้ามกับการลงสีบนวัตถุ) ถ้าเป็นภาพสี สีของเงาควรเป็นสีของวัตถุผสมสีเทา เงาวัตถุไม่ควรมีขอบ แต่ควรเป็นสีที่ค่อยๆจางไป.