31 สิงหาคม 2552

ศิลปินแห่งชาติ

นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๖๕ เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญในด้านประติมกรรม ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและทั่วไป ได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมทั้งที่เป็นงานศิลปะแบบปัจจุบันและประเพณีไว้มากมาย ได้ส่งผลงานเข้าร่วมแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้งและได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าปฏิบัติราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ ได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนเกษียณอายุราชการ ผลงานประติมากรรมมีแสดงถาวรอยู่ในพิพิธภัณฑสถานทั้งในประเทศและต่างประเทศผลงานประติมากรรมแบบปัจจุบันเป็นผลงานบุกเบิกในแนวทางสัจจะนิยมของประเทศไทยและผลงานประเพณีเป็นการอนุรักษ์และสืบต่อศิลปะแบบประเพณีของชาติ ในด้านวิชาการนั้นได้เป็นอาจารย์สอนวิชาประติมากรรมในยุคบุกเบิกและก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๖ และยังทำหน้าที่นี้อยู่ในฐานะอาจารย์พิเศษ ด้วยบทบาทที่สำคัญในด้านวิชาการนี้ จึงได้รับปริญญาศิลปะดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยความสามารถดีเด่น จึงได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๒๙
ถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2482 ที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ถวัลย์ ดัชนี ศึกษาชั้นมูลและระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 ของสมัยนั้นถวัลย์ได้รับทุนมาเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง และได้เป็นนักเรียนดีเด่น ด้วยฝีมือการวาดรูปที่แม่นยำ เฉียบคม ฉับไว จึงเป็นหนึ่งในนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้านจิตรกรรม ที่ีผลงานได้รับการคัดเลือกไปแสดงในหอศิลป์แห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น ถวัลย์ ดัชนี ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้เป็น ศิษย์รุ่นท้ายๆ ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีตอนเรียนอยู่ที่ศิลปากรในชั้นปีที่ี 1 ถวัลย์ ดัชนี ทำคะแนนการวาดรูปได้ถึง 100+ แต่เมื่อขึ้นปี 2 เขากลับทำได้แค่ 15 คะแนน เพราะเหตุผลที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีให้ไว้ว่า ปลาของนายไม่มีกลิ่นคาว นกของนายแหวกว่ายไปในอากาศไม่ได้ ม้าของนายไม่สามารถที่จะควบหรือวิ่งทะยานออกไปได้ นายเป็นเพียงแค่นักลอกรูป มันไม่ใช่งานศิลปะคำวิจารณ์ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีดังกล่าวนี้้ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เปลี่ยนแปลงการทำงานทุกอย่างใหม่หมดเขาจึงได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัยศิลปะอัมสเตอร์ดัม ที่แห่งนี้เองที่ถวัลย์ได้เรียนร่วมชั้นเดียวกันกับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีศิลปินแห่งชาติเกิดขึ้น 3 คนจากสถาบันแห่งนี้ นั่นคือ ศิลปินแห่งชาติของอินโดนีเซีย ด้านการแกะสลัก, ศิลปินแห่งชาติของอเมริกา ชาวสวิตเซอร์แลนด์ นามว่า Giger (ไกเกอร์ หรือ กีเกอร์ ถ้าอ่านแบบเยอรมัน) ซึ่งเป็นศิลปินที่วาดรูปออกแนวอวกาศและเป็นผู้ออกแบบเอเลี่ยน และศิลปินแห่งชาติของไทย ถวัลย์ ดัชนีเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น รูปเขียนขนาดใหญ่ของเขาหลายรูป ถูกนักเรียนกรีดทำลายด้วยเหตุที่ว่างานของเขานั้นดูหมิ่นพระพุทธศาสนา ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เลิกแสดงผลงานในประเทศไทยไปนานหลายปี กว่าคนไทยจะยอมรับได้ ก็ต้องใช้เวลานานถึงสามสิบกว่าปี ในปัจจุบันผลงานของเขาได้รับการยอมรับ และได้รับการยกย่องชื่นชมว่าเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ อีกทั้งเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมงานศิลปะทั่วไปอีกด้วยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา ท่านได้สร้างผลงานถาวรไว้หลายแห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น จิตรกรรม ฝาผนังสถานเอกอัครราชทูตไทยในบัวโนสไอเรส กรุงเวียนนาและกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน กรุงเทพ ฯ บ้านพักเคแอลเอ็ม อาคารเชลล์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร พระตำหนักดอยตุง เชียงราย ปราสาทคร็อททอร์ฟในเยอรมัน ตราประจำตระกูลของบุคคลสำคัญในยุโรป ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา หอศิลป์ส่วนตัวที่เชียงราย ศาลาไทยที่ศูนย์วัฒนธรรมไทย ประเทศเยอรมนี ท่านได้รับเชิญเป็นศิลปินที่พำนักชั่วคราวในอิสราเอล เยอรมนี อเมริกา ตรุกี ญี่ปุ่น และสอนศิลปะชั้นสูงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เคยได้รับเหรียญทองสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมจากสมาคมสถาปนิกสยาม ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อพ.ศ. 2544 ปัจจุบันถวัลย์ ดัชนี เป็นศิลปินอิสระ มีบ้านพักอยู่ในเขตตัวเมืองเชียงรายนายทวี นันทขว้าง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ท่านได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๔ รวมอายุได้ 66 ปี นายทวีเป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญทางด้านจิตรกรรมซึ่งคนในวงการศิลปะยอมรับนับถือโดยทั่วไป เนื่องจากท่านได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไว้เป็นจำนวนมาก เคยได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้ง รางวัลสูงสุดอันดับหนึ่งของท่านคือ ศิลปินชั้นเยี่ยมจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้หนึ่งที่บุกเบิกงานจิตรกรรมที่มีอิทธิพลแก่ยุวศิลปินอีกหลายคน
ด้านวิชาการ นายทวีเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ผลงานทางศิลปะของได้พัฒนาและคลี่คลายอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ถือเป็น คุณลักษณะพิเศษ ในงานของนายทวี คือการผสมผสานระหว่างแบบเหมือนจริงกับแบบเหนือจริงตามแบบของตนเองอย่างอิสระผลงานของนายทวีจึงไม่ผาดโผน ทว่าเป็นไปอย่างเรียบ ๆ ประณีต ลึกซึ่ง มีสมาธิ วุฒิภาวะ และความมั่นใจ
นายทวี นันทขว้าง เริ่มเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๖ – ๒๔๘๐ จนสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากนั้นในระหว่าง พ.ศ .๒๔๘๐ – ๒๔๘๖ เรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดลำพูน ๖ ปี โดยสำเร็จชั้นมัธยมศึกษา ในปี พ.ศ .๒๔๘๘ – ๒๔๙๑ ศึกษาต่อที่ Academy of Fine Arts of Rome และสำเร็จการศึกษาขั้น DIPOMA ACADEMIA DI BELLE ART DI ROMA
นายทวี นันทขว้าง เริ่มงานโดยเป็นครูชั้นตรีสอนที่โรงเรียนเพาะช่างในช่วงปี
พ.ศ .๒๔๙๒ – ๒๔๙๖ ในพ.ศ. ๒๔๙๗ ประจำแผนกเผยแพร่และประกวด กองส่งเสริมและเผยแพร่กรมการข้าว พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยศิลปกรให้เป็นผู้ถวายคำแนะนำด้านศิลปกรรมแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
พ.ศ.๒๕๐๕ ได้สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในคณะจิตรกรรมประติมากรรมตำแหน่ง อาจารย์และได้เลื่อนเป็นอาจารย์เอกใน พ.ศ.๒๕๑๗ ได้ลาออกไปประกอบอาชีพส่วนตัวในระยะหนึ่งและได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยศิลปากรอีก ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ต่อมา
พ.ศ.๒๕๒๓ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ ๗ ภาควิชาประยุกต์ศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๘ ท่านได้เกษียณอายุราชการแล้วประกอบอาชีพเป็นศิลปินอิสระนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งเสียชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น