01 กันยายน 2552

ความรู้ทางศิลปะ ( อ่านไว้สอบ ) นักเรียน ม.3 ม.6



ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ
ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ1. ศิลปกรรมเป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ รวมทั้งหลักเกณฑ์การสร้างสรรค์ และคุณค่าของศิลปะ ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจ ประทับใจในศิลปะ แล้วนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนเองและสังคม
1.1 ความหมายของศิลปะศิลปะ (ART) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และมีค่านิยมที่ไม่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ให้คำนิยาม เช่น ศิลปิน นักการศึกษาทางศิลปะ และนักวิจารณ์ศิลปะ เป็นต้น จึงพอจะสรุปได้ว่า“ศิลปะ คือ ผลงานของมนุษย์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพึงพอใจของมนุษย์”
1.2 ความงามของธรรมชาติและความงามของศิลปะความงามของธรรมชาติ ธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามกฎเกณฑ์ของความเป็นจริง โดยส่วนรวมเกิดขึ้นตาม วัฏจักรของตนเอง และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพ มนุษย์เราอาศัยธรรมชาติเพื่อประโยชน์ทางร่างกายและทางจิตใจ เช่น ธรรมชาติทำให้เราเกิดความรู้สึกมีความสุขสดชื่น แจ่มใส และเบิกบาน เมื่อเราได้พบเห็น หรือไม่ได้รับอากาศอันบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติความงามของศิลปะ คือ ความงามที่เกิดจากการสร้างสรรค์จากความคิด สติปัญญา ของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้
1. โดยการพิจารณาตามรูปแบบของศิลปะ ประกอบด้วย
1.1 ความงามของจิตรกรรม คือ ความงามที่แสดงออกเกี่ยวกับ เส้น สี แสง – เงา รูปร่าง
1.2 ความงามของปติมากรรม คือ ความงามที่แสดงออกให้เห็นถึง ปริมาตร แสง – เงา สัดส่วน
1.3 ความงามของสถาปัตยกรรม คือ ความงามที่แสดงออกให้เห็นรูปร่าง รูปทรง ปริมาตร บริเวณว่าง ความสะดวกในการใช้สอย
2. โดยการพิจารณาตามลักษณะของความมุ่งหมายในการแสดงออกประกอบด้วย2.1 สร้างขึ้นเพื่อบรรยายหรืออธิบายตามเรื่องราว
2.2 สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกเพื่ออารมณ์ตามความรู้สึก
2.3 สร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งให้สวยงาม
1.3 คุณค่าของศิลปะ
1.3.1 คุณค่าของศิลปะทางความรู้สึกเช่น ความงาม ความเชื่อ เป็นต้น
1.3.2 คุณค่าของศิลปะทางการอำนวยประโยชน์ เช่น การอยู่อาศัย
1.3.3 คุณค่าของศิลปะในทางช่วยสร้างสรรค์ความเจริญเช่น ด้านมนุษยธรรม
2. ประเภทของศิลปะ (Classification of art)แบ่งออกได้สองประเภท คือ
2.1 วิจิตรศิลป์ (Fine art) บางที่เราก็เรียกว่าประณีตศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ด้านจิตใจและอารมณ์แบ่งออกได้เป็น 5 แขนง คือ2.1.1 จิตรกรรม หมายถึง การวาดภาพโดยใช้วัสดุการเขียนลงบนพื้นระนาบ
2.1.2 ประติมากรรม หมายถึง การปั้น การแกะสลัก และการหล่อ
2.1.3 สถาปัตยกรรม หมายถึง การออกแบบสิ่งก่อสร้างและที่อยู่อาศัย
2.1.4 วรรณกรรม หมายถึงการประพันธ์ต่างๆ
2.1.5 นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่แสดงออกทางท่าทางและทางเสียงที่มีจังหวะ
2.2 ประยุกต์ศิลป์ (Applied art) หมายถึง ศิลปะที่ตอบสนองความต้องการทางร่างกาย จิตใจ ได้แก่
2.2.1 พาณิชยศิลป์ หรือศิลป์เพื่อการค้า
2.2.2 อุตสาหกรรมศิลป์ หมายถึง ศิลป์ที่เป็นผลผลิตด้านอุตสาหกรรม
2.2.3 มัณฑนศิลป์ หมายถึง ศิลปะการออกแบบตกแต่ง ภายใน – ภายนอก
2.2.4 ศิลปหัตถกรรม หมาย ศิลปะที่ทำด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หัตถศิลป์”ความเป็นมาของประยุกต์ศิลป์ มีบทบาทต่อสังคมมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์และได้เจริญขึ้นตามกาลเวลา รูปแบบเปลี่ยนไปตามความนิยมของแต่ละยุคสมัย ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้
1. ความต้องการทางประโยชน์ใช้สอย2. สภาพทางสังคมตามสภาพความนิยม3. สภาพทางเศรษฐกิจคุณค่า ของงานประยุกต์ศิลป์ มีดังนี้1. คุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย เช่น ขนาดสัดส่วนที่สัมพันธ์กับมนุษย์ ความเหมาะสมกับหน้าที่ใช้สอย ความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
2. คุณค่าทางความงาม เช่น การออกแบบอย่างสมบูรณ์ลงตัว
3. ทัศนศิลป์ (VISUAL ART)ทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มีตัวตน กินเนื้อที่ในอากาศ สามารถจับต้องได้และสนองประสาท สัมผัสทางตา สามารถแบ่งออกได้เป็นแขนงต่าง ๆ คือ
3.1 จิตรกรรม (PAINTING) คือการเขียนภาพโดยใช้สี ส่วนมากผู้เขียนใช้พู่กัน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดรูปแบบที่เห็นจากธรรมชาติ หรือ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นตามแนวความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่ทำงานจิตรกรรม เรียกว่า “จิตรกร(ARTIST)” ผลงานจิตรกรรมสามารถแยกตามลักษณะต่าง ๆ กัน คือ
3.1.1 เรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้ เช่น จิตรกรรมสีน้ำ จิตรกรรมสีน้ำมัน จิตรกรรมสีอครีลิก ฯลฯ
3.1.2 เรียกชื่อตามเรื่องราว เช่น จิตรกรรมหุ่นนิ่ง จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ จิตรกรรมภาพคน ฯลฯ
3.1.3 เรียกชื่อตามตำแหน่งติดตั้ง เช่น จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมโฆษณากล้างแจ้ง จิตรกรรมประดับผนังอาคาร, โรงแรม ฯลฯ
3.2 ประติมากรรม (SCULPTURE) มีลักษณะเป็นสามมิติ คือ มีความกว้าง ความยาว ความหนา หรือความสูง มีวิธีทำได้หลายวิธี เช่น
3.2.1 วิธีปั้น หมายถึง การเอาวัสดุส่วนย่อยเพิ่มเข้าเพื่อให้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง ฯลฯ
3.2.2 วิธีแกะสลัก หมายถึง การเอาส่วนย่อยออกจากส่วนรวม วัสดุที่ใช้ เช่น หินอ่อน ไม้ ศิลาแลง ฯลฯ
3.2.3 วิธีทุบ ตี วัสดุที่ใช้เป็นพวกโลหะ นำมาทำเพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ
3.2.4 วิธีหล่อ เป็นกระบวนการที่ต่อจากการทำประติมากรรมปั้นเพื่อให้ได้จำนวนมากตามความต้องการ
3.3 สถาปัตยกรรม (ARCHITECTURE) สถาปัตยกรรมเป็นงานที่รวมจิตรกรรมและประติมากรรมมาประกอบด้วยมีขนาดใหญ่กว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ เป็นทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบก่อสร้างเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณว่างเพื่อให้เกิดประโยชน์ ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม เรียกว่า สถาปนิก (ARCHITECT) ความเป็นมาของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่มีลักษณะเด่น ให้เห็นเด่นชัด สมัยแรกมนุษย์อยู่ตามถ้ำ ซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน ต่อมามนุษย์อพยพออกจากถ้ำแหล่งที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ก็คือ บริเวณใกล้แม่น้ำลำธาร เพื่อสะดวกในการไปมาหาสู่กัน เป็นที่สร้างที่อยู่อาศัยใช้ในการเพาะปลูก สถาปัตยกรรมจึงเป็นการก่อสร้างอันสำคัญของมนุษย์ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคมประเภทของสถาปัตยกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สถาปัตยกรรมที่เป็นปูชนียสถาน เป็นประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่อาศัยไม่ได้
2. สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย เป็นประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่ได้ เช่น อาคารบ้านเรือนสถาปัตยกรรมแบ่งตามลักษณะวัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง มี 4 ประเภท คือ1. สถาปัตยกรรมเครื่องไม้
2. สถาปัตยกรรมเครื่องหิน
3. สถาปัตยกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก
4. สถาปัตยกรรมโครงเหล็กทัศนธาตุ (VISUAL ELEMENTS) เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลป์ ได้แก่
1. เส้น (LINE) คือส่วนประกอบเบื้องต้นที่สำคัญ
2. รูปร่างและรูปทรง
3. แสงและเงา
4. บริเวณว่าง
5. สี
6. ลักษณะพื้นผิว
4. หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หมายถึง หลักการจัดวางสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันและเกิดเป็นศิลปะจะเอาองค์ประกอบมาจัดทุกอย่างหรือบางอย่างก็ได้มาประกอบกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ซึ่งมนุษย์ได้แบบอย่างมาจากธรรมชาติ บางครั้งก็ดัดแปลงขึ้นมาใหม่ แต่บางอย่างก็นำธรรมชาติมาใช้เลย สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมา ได้แก่
1. จุด
2. เส้น
3. ทิศทาง
4. รูปร่างและรูปทรง
5. ขนาดและสัดส่วน
6. ลักษณะผิว
7. น้ำหนักสีอ่อนแก่
8. สีองค์ประกอบที่ดีนั้น ควรจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนประธาน หมายถึง จุดสนใจของภาพเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
2. ส่วนรองประธาน หมายถึง ส่วนสำคัญรองลงไปเป็นส่วนที่จะมาช่วยให้งานมีเนื้อหา มีความเด่น มีคุณค่าและสมบูรณ์มากขึ้น
5. การวิเคราะห์และวิจารณ์ศิลปะมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องแสวงหาความรู้ ตรวจสอบ แนวความคิด และวิธีการแสดงออกในผลงานศิลปะทั้งของตนเองและผู้อื่น การวิจารณ์ศิลปะเป็นเนื้อหา และกิจกรรมใหม่สำหรับสังคมไทย เริ่มมีขึ้นเมื่อตอนมีการจัดสัมนาศิลปะการวิจารณ์ขึ้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันยังไม่ก้าวหน้าไปมากเท่าที่ควร ฉะนั้นการพัฒนาเกี่ยวกับการวิจารณ์ ศิลปะจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ในชั้นเรียน ฝึกหัดให้แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ และตีความผลงานศิลปะอยู่เสมอ สร้างความเชื่อมั่นในวิจารณญาณของตน โดยตั้งอยู่บนเหตุผลที่ถูกต้องการวิเคราะห์ ตามพจนานุกรมนักเรียน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ หมายถึง การใคร่ครวญ แยกแยะออกเป็นส่วน ๆ การวิจารณ์ศิลปะ ตามพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง การวิพากษ์วิจารณ์ ผลงานทางศิลปะซึ่งศิลปินได้สร้างสรรค์ไว้ โดยให้ความเห็นตามกฎเกณฑ์และหลักการของศิลปะแต่ละสาขา ทั้งในด้านสุนทรีย์ศาสตร์และปรัชญาสาขาอื่น ๆคุณสมบัติของนักวิจารณ์ สรุปได้ดังนี้
1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งในส่วนที่เป็นประจำชาติ และสากล
2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ รูปแบบงานศิลปะ ทำให้มองงานที่จะวิจารณ์ได้หลายประเด็น
3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม เปิดใจให้กว้างขึ้น จะได้ไม่เอากรอบใดกรอบหนึ่งมาวัดงานทุกชิ้น
4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น
5. กล้าที่จะแสดงออกทั้งที่เป็นไปตามหลักวิชาการและแสดงออกตามความรู้สึกและประสบการณ์ทฤษฎีหรือเกณฑ์ในงานศิลปะ สิ่งสำคัญในการวิจารณ์ศิลปะ คือ “เกณฑ์” ที่เป็นบรรทัดฐาน ของวิธีการศึกษาที่กำหนดขึ้นใช้ โดยก่อนจะทำการวิจารณ์งานศิลปะควรที่จะทราบลักษณะของงานเสียก่อน เพื่อจะได้ทำการวิจารณ์ได้อย่างถูกต้องทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1. นิยมการเลียนแบบ เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้วเลียนแบบไว้ให้เหมือนทั้งรูปร่าง รูปทรง สีสัน ฯลฯเกณฑ์ พิจารณาความเหมือนทั้งรูปร่างลักษณ์และความรู้สึก เช่น ภาพแตงโมผ่าซีก ต้องดูแล้วรู้สึกหวานฉ่ำ
2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ให้สวยงามด้วยทัศนธาตุ (เส้น รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก ผิว บริเวณว่าง ) และเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกณฑ์ ความสวยงามรูปร่าง รูปทรง สัดส่วน การจัดภาพ เทคนิคการสร้างสรรค์ บางครั้งไม่แสดงเนื้อหาเรื่องราว
3. นิยมแสดงอารมณ์ เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์ อันที่เนื่องมาจากเนื้อหาเรื่องราว และอารมณ์ของศิลปินที่ถ่ายทอดลงไปในชิ้นงานเกณฑ์ ภาพกระตุ้นให้ผู้ดูผู้ชมเกิดความรู้สึกไปตามที่แสดงออก หรือกระตุ้นความรู้สึกที่เป็นประสบการณ์เดิมของผู้ดูแต่ละคน
4. นิยมแสดงจินตนาการ เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ และแสดงความคิดฝันที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ และสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจำเกณฑ์ การแสดงออกอย่างอิสรเสรีทั้งเนื้อหา เรื่องราว และเทคนิควิธีการสร้างสรรค์วงจรของศิลปะวิจารณ์ การทำความเข้าใจศิลปะวิจารณ์จะต้องรับรู้องค์ประกอบ หรือวงจรที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้เข้าใจความสัมพันธ์อันเป็นเหตุปัจจัยต่อกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. ศิลปิน เป็นผู้มีหน้าที่สร้างสรรค์งานศิลปะซึ่งต้องมีความจริงใจที่จะสร้างผลงานขึ้นมาอย่างบริสุทธิ์ใจไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลใดทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ และในด้านของผลประโยชน์ทาววัตถุ นอกจากนั้นศิลปินจะต้องมีความสามารถพิเศษหรือเรียกว่า “พรสวรรค์” ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเองด้วยภาษาของทัศนศิลป์ ประการสำคัญศิลปิน จะต้องเป็นผู้ที่มีโลกทัศน์กว้างขวาง มีความเข้าใจในชีวิตมนุษย์และปรัชญาการดำเนินชีวิต
2. ผลงานศิลปะ คือ รูปของผลงานศิลปะที่ศิลปินใช้เป็นภาษาหรือสื่อกลางที่จะถ่ายทอดความนึกคิดและอารมณ์ความรู้สึกของตนออกมา ภาษาทางทัศนศิลป์เป็นการใช้ภาษาของการมองเห็นด้วยตา
3. คนดู คือ ส่วนของประชาชนที่เป็นผู้รับรู้ภาษาที่ศิลปินใช้สื่อความหมาย คนดูเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ความหมายของการสร้างศิลปะสมบูรณ์ครบวงจร ผลงานศิลปะใดถ้าขาดคนดูย่อมจะสูญเสียความประสงค์สำคัญทั้งหมด คนดูจะรวมไปถึงนักวิจารณ์ศิลปะด้วย ปละคนดูโดยทั่วไปอาจกล่าวโดยอนุมานได้ว่า เขาทุกคนคือนักวิจารณ์ศิลปะเพราะจะต้องตัดสิน หรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงความชอบและไม่ชอบของตนเองการวิจารณ์ศิลปะ มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
1. เพื่อให้ผู้รู้ ครู อาจารย์ และนักวิจารณ์ศิลปะ ได้ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับศิลปะให้กับผู้ที่สนใจรวมทั้งนักศึกษา อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่ผ่านมายังไม่มี1. เพื่อให้ผู้รู้ ครู อาจารย์ และนักวิจารณ์ศิลปะ ได้ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับศิลปะให้กับผู้ที่สนใจรวมทั้งนักศึกษา อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่ผ่านมายังไม่มีการเรียนการสอนวิชาศิลปวิจารณ์อย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้ผู้ที่สนใจรวมทั้งนักเรียน นักศึกษาได้รับความรู้ หรือเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะให้กับตนเองอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จนสามารถเข้าใจและชื่นชมศิลปะได้
3. เพื่อให้นักวิจารณ์ศิลปะได้ช่วยเผยแพร่ หรือบอกเล่าความเคลื่อนไหวในวงการศิลปะนักวิจารณ์ศิลปะยังทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างศิลปินกับผู้ชมขั้นตอนการวิจารณ์
1. ข้อมูลภาพ เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับผลงานที่จะวิจารณ์ ได้แก่ เป็นงานทัศนศิลป์แขนงใด ชื่อภาพ ชื่อศิลปิน วัสดุ เทคนิค วิธีการ ขนาด เป็นต้น
2. ขั้นพรรณนา เป็นข้อมูลที่ได้จากการมองเห็น การสังเกต การตั้งคำถาม ว่าท่านเห็นอะไรบ้างในงานชิ้นนั้น
3. ขั้นแปลความ เป็นขั้นการค้นหาความหมายของภาพ โดยเริ่มจากความสัมพันธ์ระหว่างภาพที่เห็นกับชื่อภาพเป็นอย่างไร
4. ขั้นวิเคราะห์ภาพรวม โดยพิจารณาว่า เป็นงานศิลปะแบบใด จัดอยู่ในทฤษฎีอะไร
5. ขั้นตัดสินประเมินค่า พิจารณาจากข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้วตัดสินเลยว่า ผลงานเป็นอย่างไรงามหรือไม่งาม ดีหรือไม่ดี ถ้าดีก็ชม ถ้าไม่ดีอาจติหรือเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป
2. ความเข้าใจศิลปะ1. ศิลปะและความเข้าใจศิลปะตามความเข้าใจของคนทั่วไป พอสรุปได้คือ ศิลปะเป็นสิ่งทีมีความสวยงาม สามารถอำนวยความสุข และเกิดความบันเทิงใจเมื่อได้พบเห็น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิความเป็นอยู่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแต่งกาย การตกแต่งห้องศิลปะตามความเข้าใจของศิลปิน สรุปคือ ศิลปะเป็นสื่อคามหมายร่วมกันของมนุษย์ที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานให้เป็นเครื่องเร้าให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจเมื่อได้พบเห็น สัมผัส ทำให้เกิดความคิดเช่นเดียวกับความหมายที่ต้องการ สามารรถยกระดับอารมณ์ และจิตใจด้วนคุณธรรมจะเห็นว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มีความผูกพันกับชีวิตประจำวัน การที่มนุษย์เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวแล้วมีปฏิกิริยาตอบสนองจากการรับรู้นั้น เช่น ตอบสนองต่อรูปร่าง รูปทรง ระนาบผิว ความหนักแน่น ทึบตัน บริเวณว่า การเคลื่อนไหวแสง สี เสียง หรือลักษณะที่ปรากฏให้เห็นของสิ่งต่าง ๆ เกิดความประทับใจ แล้วถ่ายทอดออกไป เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “การรับรู้นำไปสู่การถ่ายทอด ดังจะกล่าวได้ต่อไป”
1.1 การรับรู้นำไปสู่การถ่ายทอด มนุษย์รับรู้สิ่งต่างๆ จากโลกภายนอก จากสิ่งแวดล้อมผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เข้าสู่เส้นประสาทแล้วนำเข้าสู่ระบบสมอง เกิดเป็นการแปลความตัดสินประเมินค่า ถ้าสั่งนั้นดีเก็บไว้เป็นความทรงจำ ถ้าผู้นั้นเป็นศิลปินจะไม่เก็บความดีงาม ความประทับใจไว้แต่เพียงผู้เดียว แต่จะถ่ายทอดเป็นงานศิลปะตามที่ตนถนัดเพื่อเผื่อแผ่ความดีงามการรับรู้และการถ่ายทอดจากการมองเห็น ศิลปินรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากสังคม สิ่งแวดล้อม แล้วต้องการจะถ่ายทอดหรือแสดงออกเป็นงานศิลปะตามที่ตนถนัดหรือมีประสบการณ์ จึงทำให้เกิดรูปแบบการถ่ายทอดต่างกันมากมาย
1. ถ่ายทอดตรงตามที่เห็นจริง ศิลปินเห็นอย่างไรก็ถ่ายทอดออกมาอย่างนั้น เป็นงานศิลปะที่เหมือนของจริง ผู้ดีเห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นภาพอะไร เรื่องอะไร จัดเป็นศิลปินนิยม การเลียนแบบ
2. ถ่ายทอดโดยปรุงแต่งสิ่งที่เห็น ศิลปินบางคนต้องการแสดงเรื่องราวจากความคิดฝัน จินตนาการจึงต้องมีการประดิษฐ์รูปทรงให้เหมาะสมกับเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการแสดงออกโดยนำสิ่งที่เห็นมาปรับแต่งเพิ่มเติม
3. ถ่ายทอดความรู้สึก ศิลปินกลุ่มนี้ไม่สนใจรูปทรงภายนอกของวัตถุแต่สนใจเกี่ยวกับความรู้สึก เช่น ความรัก ความงาม ความสดชื่น ความน่ากลัว ความรู้สึกเหล่านี้ยังไม่มีรูปร่างที่แน่นอนตายตัว จึงทำให้ศิลปินสร้างงานได้อย่างอิสระมากกว่าการถ่ายทอดตามแบบที่ 1 และ 2ศิลปะแต่ละคนมีการถ่ายทอดแตกต่างกัน ตามความคิดสร้างสรรค์และความถนัดเมื่อมีการจัดกลุ่มเพื่อการศึกษา จึงเรียกใหม่ว่ารูปแบบศิลปะ หรือสไตล์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. แบบเหมือนของจริง
2. แบบดัดแปลงจากธรรมชาติ
3. รูปแบบอิสระ
1. แบบเหมือนของจริง เป็นผลมาจากการถ่ายทอดของศิลปินในลักษณะเลียนแบบธรรมชาติ พวกนิยมการเลียนแบบ ทั้งนี้เป็นเพราะเห็นว่ารูปลักษณ์ของธรรมชาติมีความงามความไพเราะอยู่แล้ว
2. แบบดัดแปลงจากธรรมชาติ เป็นผลมาจากการถ่ายทอดของศิลปินโดยการปรับปรุงแต่งสิ่งที่เห็นให้เหมาะสม สวยงามขึ้นนอกจากนี้รูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติบางครั้งน่าเกลียด น่ากลัว ศิลปินนักออกแบ ปรับแต่งให้ได้รูปร่างรูปทรงที่สวยงาม น่ารักขึ้น รูปแบบดัดแปลงนี้เป็นที่นิยมมากเพราะศิลปินได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับรูปร่างรูปทรงตามธรรมชาติ ปละผู้ดูให้ความคิดและการสังเกต ก็สามารถรับรู้เนื้อหาเรื่องราวหรือสิ่งที่ศิลปินต้องการแสดงออกได้ ศิลปินและนักออกแบบจะปรุงแต่งดัดแปลงรูปร่าง รูปทรง โดยวิธีการต่อไปนี้
1. การเพิ่มเข้า เช่น ภาพทศกัณฑ์
2. การบิดพลิ้วรูปทรง ในงานนาฏศิลป์ใช้มาก
3. การลดตัดทอน เป็นการจัดส่วนที่ไม่สำคัญออกให้เหลือรูปร่งรูปทรงที่สำคัญ
3. แบบอิสระ เป็นผลมาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของศิลปิน ทั้งนี้เพราะศิลปินเห็นว่าความงามเป็นเรื่องของมนุษย์ ที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก ไม่ติดอยู่กับความเหมือนหรือดัดแปลงรูปทรงธรรมชาติเท่านั้น ประกอบกับประชาชนมีความชื่นชอบ หรือรสนิยมทางความงามต่างกัน ศิลปินบางกลุ่มจึงควรที่จะสร้งสรรค์สิ่งแปลกใหม่ นำเสนอสู่สังคมให้ประชาชนมีโอกาสเลือกชมได้ ศิลปินจึงเลือกแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้สึก ซึ่งยังไม่มีรูปแบบแน่นอนตายตัว ศิลปินจึงใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่
1.2 ผลงานศิลปะกับการถ่ายทอดของศิลปิน ศิลปินถ่ายทอดคามเป็นตัวเองลงในผลงาน ลักษณะเฉพาะตัวของศิลปินแต่ละคน ลักษณะเฉพาะหรือความเป็นตัวของตัวเองของศิลปะแต่ละคนทำให้มีรูปแบบความงามในงานศิลปกรรมต่างกัน แม้ว่าจะได้รับการศึกษาพื้นฐานมาในระดับเดียวกันจากครูคนเดียวกัน แต่ความคิดและความรู้สึกทางความงามจะแตกต่างกัน การแสดงออกทางความงามเป็นงานหลักของศิลปิน ทั้งที่แสดงออกโดยเลียนแบบชาติ และประดิษฐ์ขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังต้องกล้าที่จะแสดงออกเพื่อความแปลกใหม่ และความก้าวหน้าทางวิชาการด้วย
1.3 วัสดุและเทคนิค ในการสร้างงานศิลปะ นอกจากสีฝุ่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ แล้วยังมีสีอื่น ๆ ที่ใช้ในการเขียนรูปอีก เช่น สีอะครีลิค สีจากโมเสก ดินสอสีระบายน้ำ มีรายละเอียดดังนี้
1.3.1 สีอะครีลิค เป็นสีใหม่ล่าสุดที่ได้รับความนิยมในวงการจิตรกรรมมากเพราะสามารถเขียนแบบสีน้ำมัน และแบบสีน้ำได้ สีนี้เป็นเป็นผลพลอยได้มาจากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม จึงมีราคาแพงพอสมควร แต่มีคุณภาพดีมีสีสวยสดใส
1.3.2 สีจากโมเสก เป็นสีหินขนาดเล็กใช้เรียงติดกันเป็นภาพ เรียกว่า ภาพประดับโมเสก
1.3.3 ดินสอสีระบายน้ำ เป็นวัสดุใหม่ระบายแบบดินสอสีและสามารถใช้น้ำลูบตามลงไป ทำให้สีเรียบแบบสีน้ำ ช่วยให้นักเรียนระบายสีได้ง่ายขึ้นและได้ผลงานที่มีความงามแปลกออกไปการระบายสีแสดงพื้นผิวการแสดงพื้นผิวที่แตกต่างกันในงานจิตรกรรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เกิดความงาม พื้นผิวที่แตกต่างกันในงานจิตรกรรมเป็นเทคนิคที่เกิดจากการระบายสีทำให้ดูแล้วรู้สึกสนุกสนานไปตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ระบายภาพที่สำเร็จจะดูไม่ราบเรียบเหมือนการระบายสีในข้อที่กล่าวมา แต่จะดูมีน้ำหนักอ่อนแก่มีชีวิตชีวา มีความสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง การระบายสีแสดงให้เกิดความงามของพื้นผิวในงานศิลปกรรมมากขึ้น
2. การสร้างงานศิลปะด้วยสื่อและเทคโนโลยี
2.1 การสร้างงานศิลปะด้วยสื่อและเทคโนโลยีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมด้วยวิธีการใหม่ วงการศิลปะในอดีตการกำหนดประเภทและแขนงต่าง ๆ ของศิลปะตามวัสดุและเทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์ ปัจจุบันวงการศิลปะก้าวหน้ามากขึ้นประกอบกับสังคมชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน และเห็นคุณค่าของเสรีภาพส่วนบุคคล ทำให้เกิดการแสวงหารูปแบบความงามใหม่ วิธีการสร้างสรรค์ใหม่ๆ
2.1.1 การสร้างงานศิลปะด้วยการปะติดเป็นการนำวัสดุจริง เช่น กระดาษ ผ้า มาจัดวางร่วมกับภาพที่เขียน ทำให้เกิดการผสมผสานอย่างเหมาะสมระหว่างพื้นผิวจากการเขียนภาพกับพื้นผิวจากของจริง
2.1.2 การสร้างงานศิลปะแบบสื่อผสม เป็นการนำเอาสื่อต่าง ๆ ทางทัศนศิลป์มาผสมผสานกันให้เหมาะสมสวยงามนับเป็นการสร้างรูปแบบความงามอยางอิสระ
2.1.3 การสร้างงานโดยการทดลอง การทดลองเรื่องสี เป็นกิจกรรมทางศิลปะที่ช่วยพัฒนาความคิด การศึกษาค้นคว้า และการแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง โดยเฉพาะเรื่องของสีนับเป็นเรื่องของความรู้สึกทางความงามที่ไม่มีที่สิ้นสุด
2.1.4 การสร้างงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์การสร้างงานศิลปกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรียกโดยทั่วไปว่าคอมพิวเตอร์อาร์ต หรือกราฟิกอาร์ต เป็นอีกวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ได้ทั้งสื่อภาพ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว เป็นลักษณะสื่อผสมในอีกรูปแบบหนึ่ง
2.2 ศิลปะกับการออกแบบความหมายของการออกแบบการออกแบบเป็นการวางแผน เพื่อจะได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ และการรู้จักเลือกใช้วัสดุเทคนิค วิธีการ โดยสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับลักษณะ รูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ
1. จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก มีเนื้อหาเฉพาะกิจที่น่าสนใจในขณะนั้น หรือที่มีผลต่อการประกอบอาชีพ ไม่มีวาระการออกที่แน่นอน เช่น จุลสารการเลี้ยงปลานิล การปลูกเห็ดนางฟ้า
2. วารสาร เป็นรูปเล่ม เป็นหนังสือ ออกเป็นวาระ เช่น วารสารรายเดือน รายปักษ์
3. นิตยสาร เป็นสิ่งพิมพ์เย็บเล่ม จึงมีการออกแบบปกให้สะดุดตา สวยงาม อ่านได้ทุกเพศ
4. หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ไม่เย็บเล่ม อายุการใช้งานสั้น มีเนื้อหาสาระครบทุกด้าน เอาใจผู้อ่านในส่วนที่เป็นข่าวสารจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
5. แผ่นปลิว หรือใบปลิว เป็นสิ่งที่พิมพ์แผ่นเดียว อาจจะพิมพ์หน้าเดียวหรือสองหน้าก็ได้ มีทั้งการนำเสนอข้อมูลสินค้า บริการ และการเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
6. แค็ตตาล็อก เป็นชื่อเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ สิ่งพิมพ์เย็บเล่ม หรือเป็นแฟ้ม บอกชนิดสินค้า รุ่น และราคา มีรายละเอียดสินค้าค่อนข้างครบถ้วนสมบูรณ์ พิมพ์ด้วยวัสดุอย่างดี
7. การโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการโฆษณาในวงกว้าง เผยแพร่ไปทั่วโลกทุกคนเปิดดูได้เลย นอกจากนี้ยังมี อี คอมเมิส ซึ่งมีทั้งภาพและเสียง สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา สามารถซื้อขายได้โดยตรงไม่ผ่านคนกลางงานออกแบบต่างกับงานวิจิตรศิลป์อย่างไรการออกแบบ จัดเป็นงานประยุกต์ศิลป์ เพราะสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย และความงามไปในขณะเดียวกัน การออกแบบนิเทศศิลป์ พาณิชยศิลป์ เป็นการสร้างสรรค์งาน โดยเน้นทั้งความงาม ความน่าสนใจ และการสื่อความหมาย ตามที่ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าต้องการงานวิจิตรศิลป์ หรือศิลปะบริสุทธิ์ ศิลปินจะทำงานด้วยตนเอง ทำเพียงคนเดียว ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ความประทับใจ ที่มีต่อธรรมชาติ สังคม สิ่งแวดล้อม ให้ปรากฏออกมาเป็นผลงานศิลปะตามความพึงพอใจของตนเองอาชีพด้านการออกแบบงานออกแบบประยุกต์ศิลป์หรือออกแบบโฆษณา กำลังเป็นอาชีพที่ตลาดต้องการมาก ได้รับเงินเดือน หรือค่าตอบแทนสูง ปัจจุบันสามารถทำหน้าที่ได้มากขึ้น ทำได้หลายตำแหน่ง เช่น ผู้วาดภาพ ผู้คิดคำโฆษณา ผู้จัดทำต้นฉบับฯลฯ หน้าที่ของนักออกแบบนักออกแบบมีหน้าที่สร้างงานสนองความต้องการของลูกค้า และชี้นำสังคมไปในทางที่ดี การออกแบบรูปลักษณ์หน้าตาของสินค้าต้องให้สะดุดตา น่าสนใจ น่าซื้อ จึงต้องการผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบต่าง ๆ อย่างมีคุณภาพงานออกแบบสิ่งพิมพ์ งานออกแบบสิ่งพิมพ์ เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ สื่อสาร นักออกแบบ สิ่งพิมพ์เป็นผู้สร้างสรรค์ ซึ่งจะต้องรู้จักการเตรียมการ การวางแผนเพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อผู้ดู ผู้อ่านให้ง่ายแก่การรับรู้ด้วยประสาทตา ส่วนประกอบที่ใช้ในการสร้งสรรค์สิ่งพิมพ์คือ ตัวอักษร ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ รูปภาพ ฯลฯการจัดหน้าการจัดหน้า หมายถึง การจัดตัวอักษร เนื้อหา และภาพประกอบทั้งหมดให้มีระเบียบ ได้สัดส่วน สวยงาม เปรียบเสมือนการจัดตกแต่งหน้าร้านให้ดูสวยงาม เพื่อดึงดูดผู้ผ่านไปมาวัตถุประสงค์ของการจัดหน้า สรุปได้ ดังนี้
1. เพื่อจัดวางหรือกำหนดเนื้อหาสาระ และภาพประกอบให้มีระเบียบ สวยงาม สบายตา สะดวกแก่การอ่าน และผู้ดีสามารถรับรู้ได้ง่าย
2. จัดลำดับเนื้อหา ความสำคัญ ความยากง่ายตามธรรมชาติการรับรู้ของผู้อ่าน
3. การจัดหน้าเป็นการสร้างเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งพิมพ์แต่ละฉบับการออกแบบภาพประกอบสิ่งพิมพ์ภาพประกอบสิ่งพิมพ์มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ภาพประกอบที่มาจากภาพเขียน ภาพถ่าย และภาพสำเร็จที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพประกอบจากภาพถ่ายและจากภาพเขียนแตกต่างกันตรงที่ภาพประกอบจากภาพเขียนสามารถสนองตอบความคิด จินตนาการ ได้มากกว่าภาพถ่ายความสำคัญของภาพประกอบ
1. สร้างความเข้าใจในเรื่องราว ในถ้อยคำ บรรยายได้รวดเร็วขึ้น
2. กระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจอยากอ่าน
3. เร้าความสนใจมากกว่าตัวอักษรการออกแบบตัวอักษรด้วยคอมพิวเตอร์ตัวอักษรหรือเครื่องหมายใช้แสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกแพร่ขยายไปยังผู้อื่นให้เข้าใจตรงกัน และยังช่วยรักษาความรู้ ความคิดให้อยู่ได้นานตกทอดถึงคนรุ่นหลังได้ ปัจจุบันมีแบบของตัวอักษร และขนาดให้เลือกใช้มากมาย ทั้งในเครื่องคอมฯ พีซี และเครื่องแมคอินทอช ซึ่งสามารถช่วยในการออกแบบตัวอักษรได้ การออกแบบตัวอักษรเพื่อใช้ในงานพิมพ์1. ใช้ตัวอักษรเพื่อบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา จะมีขนาดแตกต่างกันตามกลุ่มผู้อ่าน เช่น ระดับอนุบาลศึกษา ควรใช้พื้นขนาด 24 พ้อยท์ เป็นต้น
2. ใช้ตัวอักษรเพื่อดึงดูดสายตา มีการออกแบบตกแต่ง หรือเน้นข้อความข่าวสารให้เด่นชัดขึ้น สามารถดึงดูดความในใจของผู้ดู ผู้อ่าน โดยการใช้ขนาดและรูปแบบให้มีความโดเด่นเป็นพิเศษ
3. ยุคสมัยและรูปแบบของงานทัศนศิลป์
1. ยุคสมัยต่าง ๆ ของงานทัศนศิลป์
1.1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ผู้เริ่มสร้างศิลปะในยุโรปได้แก่ มนุษย์โคร-มันยอง ซึ่งมีอายุระหว่าง 50,000 – 5,000 ปีมาแล้ว งานทัศนศิลป์ที่มีชื่อเสียงอยู่ในยุโรปและในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้งานจิตรกรรม ที่มีชื่อเสียงมากคือ จิตรกรรมบนฝาผนังที่ค้นพบตามผนังถ้ำและหน้าผา เช่น ที่ผนังถ้ำ อัลตามิรา ในประเทศสเปน ส่วนในประเทศไทยก็มีหลายแห่ง เช่น ผาแต้ม จ.อุบลราชธานีลักษณะของงานจิตรกรรมพอสรุปได้ ดังนี้
1. เรื่องราวของภาพส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ ภาพคน การดำรงชีวิต
2. ลักษณะของภาพ เขียนเป็นภาพเส้นรอบนอกก่อน แล้วระบายสีภายใน บางภาพก็เป็นภาพเส้นหยาบๆ มักแสดงรูปสัตว์ด้านข้างแสดงให้เห็นอวัยวะต่าง ๆ ชัดเจน
3. สีที่ใช้มีสีที่ได้จากดินสีต่าง ๆ เช่น ดินเหลือง ดินแดง ดินดำงานประติมากรรม ได้แก่ ภาพสลักหิน ภาพลอยตัวขนาดเล็ก ๆ มีทั้งภาพคนและภาพสัตว์ ภาพคนที่มีชื่อเสียงมากคือ ภาพสตรีที่มีชื่อว่า “วีนัส วิเลนดอรฟ” พบในถ้ำที่ออสเตรียงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรกมนุษย์รู้จักทำการก่อสร้าง เมื่อออกจากถ้ำ ได้แก่ การนำก้อนหินหรือแท่งหินมาประกอบกันโดยการวางโครงสร้างหยาบๆ คือวางซ้อนกันหรือพาดกัน เรียกว่าหินตั้ง หรือโต๊ะหิน ศิลปะสมัยอียิปต์ ชาวอียิปต์เชื่อว่า ชีวิตจะกลับคืนสู่ร่างกายของคนตายได้ จึงเก็บซากศพของคนตายไว้แล้วอาบน้ำยาเรียกว่า มัมมี่ และของใช้ทั้งหลายขณะที่ยังดำเนินชีวิตอยู่ ก็เก็บฝังรวมกับศพล้วนเป็นของมีค่าทั้งสิ้น หลุมฝังศพเป็นของกษัตริย์ที่มีความสำคัญ ก็จะสร้างเป็นปิรามิดศิลปะอียิปต์ ที่สำคัญคือ
1. จิตรกรรมลักษณะภาพเขียนของอียิปต์เป็นศิลปะแบบเริ่มแรก คือ เขียนตามความรู้สึกไม่คำนึงถึงความถูกต้อง และความเป็นจริง เป็นรูปทรงแบบง่าย ๆ
2. ประติมากรรมเป็นรูปสลักใหญ่โต คือ รูปสฟริงค์
3. สถาปัตยกรรม
3.1 สถานที่ฝังศพ สร้างปิรามิด องค์และมีชื่อเสียงที่สุด คือ ปิรามิด กิเซท์ สร้างขึ้นเพื่อบรรจุศพกษัตริย์ คุฟู
3.2 วิหาร สำหรับประดิษฐานเทวรูปหรือเทพเจ้า วิหารที่สำคัญ คือ วิหารคาร์นัค วิหารลักซอร์ศิลปะสมัยเมโสโปเตเมียศิลปกรรมที่สำคัญและรู้จักกันแพร่หลายคือ1. ประติมากรรมได้แก่ ภาพแกะสลักลงไปในอิฐที่เรียงเป็นซุ้มประตู ผนังหรือกำแพงอยู่แล้ว
2. สถาปัตยกรรม ได้แก่ ซากบ้านเมือง และวิหารเมือง อูร์ (UR) สิ่งก่อสร้างในเมืองนี้สร้างด้วยอิฐดินเผาและดินดิบที่มีชื่อเสียงมากคือ วิหารใหญ่ที่ทำเป็นหอสูง มีทางวนเวียนราดลงแทนบันได อาคารต่าง ๆ มีเสาขนาดใหญ่ ๆ มีการสร้างเพดานโค้งและมีการสลักตกแต่งสวยงาม สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงมากอีกแห่งคือ สวนลอยแห่งบาบิโลน มีการสร้างสวนให้สูงจากพื้น โดยการก่อสร้างอิฐซ้อนกันขึ้นไป โดยวางแผนผังลดหลั่นกันอย่างสลับซับซ้อน ตามซุ้มประตูต่างๆ ประดับด้วยภาพสลักมหึมาศิลปะสมัยโรมันแบบอย่างศิลปะโรมันปรากฎลักษณะชัดเจนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 เรื่อยมา จนกระทั่งประมาณ พ.ศ.1040 โดยในช่วงเวลาหลังได้เปลี่ยนสาระเรื่องราวใหม่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ สืบต่อมาเป็นเวลาอีกนานมาก จนกระทั่งเมื่อ กรุงคอนสะแตนติโนเปิลได้กลายเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน ในปี พ.ศ.870 ทำให้สมัยแห่งโรมันต้องสิ้นสุดลง แหล่งอารยธรรมสำคัญของโรมัน คือ อารยธรรมกรีกและอีทรัสกัน จิตรกรรมของโรมัน อาศัยจากการค้นคว้าข้อมูลจากเมืองปอมเปอี สตาบิเอ และ เฮอร์คิวเลนุม ซึ่งถูกถล่มทับด้วยลาวาจากภูเขาไฟวิสุเวียส เมื่อ พ.ศ. 622 และถูก ขุดค้นพบในสมัยปัจจุบัน จิตรกรรมผาฝนังประกอบด้วยแผงรูปสี่เหลี่ยผืนผ้า ซึ่ง มักเลียนแบบหินอ่อน เป็นภาพทิวทัศน์ ภาพคน และภาพเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม มีการใช้แสงเงา และกายวิภาคของมนุษย์ชัดเจน เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกับกาวน้ำปูน และสีขี้ฝึ้งร้อน นอกจากการวาดภาพ ยังมีภาพประดับด้วยเศษหินสี (Mosaic) ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งบนพื้นและผนังอาคาร ประติมากรรมของโรมันรับอิทธิพลมากจากชาวอีทรัสกันและกรีกยุคเฮเลนิสติก แสดงถึงลักษณะที่ถูกต้องทางกายภาพ เป็นแบบอุดมคติที่เรียบง่าย แต่ดูเข้มแข็ง มาก ประติมากรรมอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือประติมากรรมรูปนูนเรื่องเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ มีรายละเอียดของเรื่องราว เหตุการณ์ถูกต้อง ชัดเจน ประติมากรรม โรมันในยุคหลัง ๆ เริ่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนามากเป็นพิเศษ วัสดุที่ใช้สร้างประติมากรรมของโรมันมักสร้างขึ้นจาก ขี้ผึ้ง ดินเผา หิน และสำริด สถาปัตยกรรมโรมัน ได้แก่อาคารต่าง ๆ ส่วนมากเป็นรูปทรงพื้นฐาน วัสดุที่ใช้ สร้างอาคารได้แก่ ไม้ อิฐ ดินเผา หิน ปูน และคอนกรีต ซึ่งชาวโรมันเป็นชาติแรก ที่ใช้คอนกรีตอย่างกว้างขวาง และพัฒนารูปแบบออกจากระบบเสาและคาน ไป สู่ระบบโครงสร้างวงโค้ง หลังคาทรงโค้ง หลังคาทรงกลม และหลังคาทรงโค้ง กากบาท มีการนำสถาปัตยกรรมที่สำคัญของกรีกทั้ง 3 แบบ มาเปลี่ยนแปลงและ ปรับปรุงให้วิจิตรบรรจงขึ้นชาวกรีกใช้เสาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง แต่ชาว โรมันมักจะเพิ่มการตกแต่งลงไป โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางโครงสร้างเท่าไร นัก ลำเสาของกรีกจะเป็นท่อน ๆ นำมาวางซ้อนต่อกันขึ้นไป แต่เสาของโรมันจะ เป็นเสาหินท่อนเดียวตลอด รูปแบบอนุสาวรีย์ที่พบมากของโรมันคือ ประตูชัย เป็นสิ่งก่อสร้างตั้งอิสระประดับตกแต่งด้วยคำจารึก และรูปนูนบรรยายเหตุการณ์ ที่เป็นอนุสรณ์ สถาปัตยกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโรมัน คือสะพานส่งน้ำ ซึ่ง ใช้เป็นทางส่งน้ำจากภูเขา มาสู่เมืองต่าง ๆ ของชาวโรมันเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดง ถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมของโรมันอย่างเห็นได้ชัด สถาปัตกรรมโรมัน ในช่วง พ.ศ. 600 - 873 ได้สะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งและ อำนาจของจักรวรรดิโรมัน อาคารสถาปัตยกรรมมีขนาดกว้างใหญ่ และมีการตก แต่งอย่างฟุ่มเฟือย มีการควบคุมทำเลที่ตั้ง การจัดภูมิทัศน์อย่างพิถีพิถัน มีการ สร้างลานชุมนุมชาวเมือง โรงมหรสพหรือสนามกีฬา โรงอาบน้ำสาธารณะ และ อาคารที่พักอาศัยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ภายในอาคารมักประดับด้วยหินอ่อน หินสี และประติมากรรมแกะสลักตกแต่งอย่างสวยงาม ศิลปะตะวันออกได้แก่ ลักษณะของศิลปะที่แสดงคุณลักษณะเฉพาะอย่างของรูปแบบ ศิลปะจะแสดงออกทางอิทธิพลทางภูมิอากาศ ขนบประเพณี รูปแบบของศิลปะตะวันออกจะเด่นชัดทางอิทธิพลทางศาสนา เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนประยุกต์ศิลป์ งานประณีตศิลป์และงานหัตถกรรม ซึ่งมีส่วนในการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของชาวตะวันออกตามพื้นเพเดิมของการดำรงชีวิต ชาวตะวันออก คือ มนุษย์ที่อยู่อาศัยในประเทศแถบตะวันออก ตั้งแต่ตะวันออกกลางจนถึงตะวันออกไกล โดยมีรูปร่างทางร่างกายและวัฒนธรรมเป็นอีกลักษณะหนึ่งที่แตกต่างกันออกไปด้วย การนับถือศาสนาก็มีอิสระต่อกัน ประกอบด้วย ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ลัทธิเต๋า และศาสนาคริสต์ เป็นต้น สภาพความเป็นอยู่จะเป็นไปตามลักษณะของภูมิประเทศและภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ลักษณะบ้านเรือน เครื่องแต่งกายและสิ่งของเครื่องใช้เป็นไปตามสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์ศิลปะจึงเป็นไปอีกแบบหนึ่ง ศิลปะในประเทศตะวันตกนั้น มีโอกาสที่จะเป็นลักษณะเดียวกันในบางยุคบางสมัย เพราะมีความนิยมร่วมกัน แต่ในประเทศตะวันออกนั้น ล้วนมีเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเองมาแต่ยุคโบราณ และต่างก็สืบต่อลักษณะทางศิลปะกันลงมาไม่ขาดสายจึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าชาวตะวันออกซึ่งประกอบด้วยเชื้อชาติต่าง ๆ นั้น มีความเคารพนับถือในขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองยิ่งกว่าชีวิต ทำให้ศิลปะของชาวตะวันออกมีลักษณะรูปแบบตนเอง “ ศิลปะประจำชาติ ” เด่นชัด และไม่ถือเอาความเป็นจริงตามธรรมชาติเป็นสำคัญ จึงสร้างสรรค์ศิลปะให้บังเกิดความงามที่เหนือขึ้นไปจากธรรมชาติตามรสนิยมและความรู้สึกของตนความเป็นมาของศิลปะไทยไทยเป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะไทยจะวิวัฒนาการและสืบเนื่องเป็นตัวของตัวเองในที่สุด เท่าที่เราทราบราว พ.ศ. 300 จนถึง พ.ศ. 1800 พระพุทธศาสนานำเข้ามาโดยชาวอินเดีย ครั้งนั้นแสดงให้เห็นอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปะไทยในทุก ๆ ด้านรวมทั้งภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม โดยกระจายเป็นกลุ่มศิลปะสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เมื่อกลุ่มคนไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแล้ว ศิลปะดังกล่าวจะตกทอดกลายเป็นศิลปะไทย ช่างไทยพยายามสร้างสรรค์ให้มีลักษณะพิเศษกว่า งานศิลปะของชาติอื่น ๆ คือ จะมีลวดลายไทยเป็นเครื่องตกแต่ง ซึ่งทำให้ลักษณะของศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะมีความอ่อนหวาน ละมุนละไม และได้สอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานอย่างลงตัว ดังจะเห็นได้จากภาพฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ ปราสาทราชวัง ตลอดจนเครื่องประดับและเครื่องใช้ทั่วไปลักษณะของศิลปะไทยศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาภาพไทย หรือจิตรกรรมไทยจัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ
1. เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล
2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ
3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ
4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่ว ภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือ คชกริด เป็นต้น
5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้นภาพลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีธรรมชาติมาเป็นแรงดลบันดาลใจ โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่อย่างสวยงาม เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว ฯลฯ ลายไทยเดิมทีเดียวเรียกกันว่า "กระหนก" หมายถึงลวดลาย เช่น กระหนกลาย กระหนกก้านขด ต่อมามีคำใช้ว่า "กนก" หมายถึง ทอง กนกปิดทอง กนกตู้ลายทอง แต่จะมีใช้เมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ซึ่งคำเดิม "กระหนก" นี้เข้าใจเป็นคำแต่สมัยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี โดยเรียกติดต่อกันจนเป็นคำเฉพาะ หมายถึงลวดลายก้านขด ลายก้านปู ลายก้างปลา ลายกระหนกเปลว เป็นต้น การเขียนลายไทย ได้จัดแบ่งตามลักษณะที่จัดเป็นแม่บทใช้ในการเขียนภาพมี 4 ลาย ด้วยกัน คือลายกระหนก ลายขดรี ลายกระบี่และลายคชะ เป็นต้น
4. ศิลปะสากล ศิลปะสากลหรือศิลปะตะวันตก หมายถึง ศิลปะที่สร้างขึ้นในอารยธรรมยุโรป อียิปต์ กรีก โรมัน ซึ่งมีการพัฒนามาเป็นเวลากว่าสามพันปีจนมีรูปแบบแนวคิด ความเชื่อตามยุคสมัยต่าง ๆ
1. สมัยโบราณ ได้แก่ ยุคหินเก่า หินใหม่ อียิปต์ กรีก โรมัน มนุษย์ยุคหินเป็นยุคที่ยัง ไม่มีการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณะอักษร เช่น มนุษย์โครมันยอง จะสร้างงานศิลปะขึ้นตามความ เชื่อเรื่องภูตผีปิศาจ อภินิหาร เช่น ภาพเขียนบริเวณฝาผนังถ้า อนุสาวรีย์หิน สมัยอียิปต์มีการสร้าง พีระมิดรูปสลักหินฟาโรห์ จิตรกรรมฝาผนัง สมัยกรีกมีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า เช่น ซีอุส เฮอร์คิวลิศ โพไซคอน จึงมีรูปเขียนและรูปปั้นเกี่ยวกับเทพในสมัยโรมันมีการสร้างซุมประตูโค้งต้อนรับผู้ที่ได้รับ ชัยชนะ
2. สมัยกลาง ชาวตะวันตกเริ่มนับถือศาสนาคริสต์ จึงนิยมสร้างศิลปกรรมเพื่อทํานุบํารุง ศาสนา เช่น สร้างโบสถ์วิหาร มีการประดับกระจกสีบริเวณหน้าต่าง มีการสร้างภาพจากกระเบื้องสี และเขียนภาพแบบปูนเปียก สร้างประติมากรรมจากหินอ่อน ที่มีรูปแบบของสัดส่วนตามลักษณะกาย วิภาค ส่วนศิลปกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ที่ได้รับแบบอย่างจากตะวันตก คือพระที่นั่งอนันตสมาคม สร้างด้วยหินอ่อน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งมีตัวอาคารแบบตะวันตก
3. ศิลปะสมัยใหม่ เริ่มตอนปลายศตวรรษที่ 18 จะแสดงออกซึ่งเป็นความจริงในสังคม มากกว่าเรื่องศาสนา เช่น สภาพสังคม สงคราม ภาพทิวทัศน์ ความประทับใจธรรมชาติ
4. ศิลปะกับมนุษย์1. ศิลปะกับชีวิต1.1 ศิลปะกับสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งจะแบ่งกล่าวเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1.1.1 ศิลปะกับสังคมศิลปะกับสังคม เป็นการแสดงออกทางศิลปะต่อสังคมที่ต่างไปจากศิลปะเพื่อสังคม โดยผลงานจะสนับสนุนเหตุผลทางสังคมแต่อย่างเดียวในทางบวก ซึ่งศิลปะกับสังคมจะสะท้อนเรื่องราว แนวคิดต่าง ๆ ต่อสังคมทั้งในทางบวกและทางลบ ด้วยเป้าหมายที่จะเห็นสังคมดีขึ้นกว่าเดิมหรือดีตลอดไป
1. ความหมายและสาระสำคัญของศิลปะกับสังคม สังคมมนุษย์จะกระทำสิ่งใดต้องมีความต้องการหรือความพอใจเป็นหลักกำหนด เมื่อไม่มีความต้องการหรือไม่พอใจก็ไม่ทำ หากถูกบังคับให้ทำหรือจะทำแต่ถูกยับยั้ง ขัดขวาง ก็จะรู้สึกไม่มีเสรีภาพหรือถูกริดรอน เสรีภาพ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต ความพอใจจึงเป็นกลไกสำคัญที่ควบคุมการกระทำของมนุษย์ในสังคม
2. สาเหตุของการเกิดศิลปะกับสังคมเพราะสังคมมนุษย์ไปเพิ่มความหมายและคุณค่าของความพอใจทั้งหลายที่มากเกินระดับความจำเป็นตามธรรมชาติอย่างไม่มีที่สิ้นสุดตามความโลภของแต่ละคนหรือตามที่แต่ละคนช่วยกันกำหนดได้ เช่น คนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีสูง จะต้องนั่งรถราคาแพง กินอาหารแพง สวมเสื้อผ้าด้วยวัสดุหายาก มนุษย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวัตถุและวิธีดำเนินชีวิตให้ถูกใจสอดคล้องกับแรงปรารถนายิ่งขึ้นเท่าที่โอกาสจะกระทำได้
3. รูปแบบศิลปะกับสังคมโครงสร้างของศิลปะกับสังคมเกิดขึ้นบนความขัดแย้งระหว่างความไม่งดงามในความรู้สึกของสังคมจึงมีความสอดรับกับศิลปะเพื่อชีวิต ที่มีความชัดเจนของชีวิตคนยากไร้ กรรมการ ชาวไร่ ชาวนา ชาวชนบท ซึ่ศิลปินได้นำมาตีแผ่สร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ แบบสัจนิยม มองเห็นความดีความชั่วที่ต่งกันได้ชัดเจน รูปแบบศิลปะกับสังคมที่เนื้อหารับรู้ง่ายจะกระตุ้นให้ผู้ดูเกิดจิตสำนึกต่อการรับผิดชอบและเอื้ออาทรต่อสังคมมากกว่าที่จะยกย่องสรรเสริญเรื่องราวของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
4. บทบาทหน้าที่ และคุณค่าของศิลปะกับสังคมศิลปะมีหน้าที่สะท้อนวิกฤตการณ์ทางสังคม บทบาทของศิลปะจึงต้องเกิดและมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ บนความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อกระตือเตือนสังคมให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะสลัดพันธนาการแห่งความพิกลพิการในสังคมให้หมดไป
1.1.2 ศิลปะกับการเมืองวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ศิลปะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบลักษณะเสมอมาโดยควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงและผันแปรของระบบการเมือง อันส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของสังคม และเศรษฐกิจ ศิลปะแห่งอดีตของโลกตะวันตกในศตวรรษที่ 18 ถือเป็นตัวอย่างได้ดีที่ทำให้ศิลปะมีหลายลัทธิและแนวทางไปกับความสับสนของสังคม ซึ่งคนชั้นกลางได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพไม่หยุดยั้ง

31 สิงหาคม 2552

พู่กันอาวุธประจำกายนักศิลปะ

พู่กัน (Brush)
พู่กันเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนช่วยให้งานศิลปะ ได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ การเลือกพู่กันที่ดี ที่ถูกต้องเหมาะสมกับสีจะทำให้สามารถสนองตอบความรู้สึก อารมณ์ ของศิลปิน พู่กันแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งพู่กันที่ดี (Raphael และ Pyramid ) จะได้รับความพิถีพิถันในการเลือกขนเพื่อมาทำพู่กัน ให้เหมาะสมกับพู่กันแต่ละประเภท
พู่กันสีน้ำพู่กันสีน้ำที่ดีควรมีลักษณะขนที่อ่อนนุ่ม สามารถอุ้มน้ำ อุ้มสี ได้มาก มีการคืนตัวที่ดี มีแรงสปริง และแรงดีดพอสมควร ทำจากขนสัตว์ ขนสัตว์ สำหรับสีน้ำ
ขนนก Petit Gris เป็นขนที่ดีที่สุดในการทำนำมาทำพู่กัน มีคุณสมบัติที่ไม่ดูดซับสีมากเกินไป เนื้อขนที่ละเอียด อ่อนนุ่มและพลิ้วไหว โปร่งเบา ลักษณะขนสีน้ำตาล Kazan,สีน้ำเงิน,สีทอง ได้รับการเลือกมาทำพู่กันมากที่สุด
ขน Red Sable มีลักษณะขนสีทองอมน้ำตาลแดง มีคุณสมบัติพิเศษในการอุ้มสีได้ดีเยี่ยม และมีการตอบสนองที่ไม่สามารถหาที่เปรียบได้ มีความสามารถในการคืนตัว และความยึดหยุ่น มีความหนาของขนทำให้มีคุณสมบัติในการดีดตัว
ขน Kolinsky และ Red Sable เป็นขนที่มาจากแถบไซบีเรีย จึงมีคุณสมบัติในการขยายตัวซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ และ “ในปัจจุบัน Raphael เป็นพู่กันเพียงยี่ห้อเดียวที่ใช้ขน Kolinsky มาผลิตพู่กัน” ขนกระรอก เป็นขนที่มีลักษณะขนไม่อ่อนนุ่มมากนัก แต่ก็สามารถอุ้มสี และอุ้มน้ำได้ดี ขนกระต่าย เป็นขนที่มีลักษณะอ่อนนุ่มมาก สามารถอุ้มน้ำ และอุ้มสีได้มาก
ขน Pony เป็นขนที่มีลักษณะไม่อ่อนนุ่มมาก แต่สามารถอุ้มน้ำ และอุ้มสีได้มาก
ขน Synthetic สำหรับสีน้ำ ขน Synthetic เป็นขนที่มีความอ่อนนุ่ม และมีความยึดหยุ่นดี ถึงแม้จะไม่สามารถดูดซับสี และน้ำได้ดีเท่ากับขนจากธรรมชาติ แต่ก็เลียนแบบในด้านรูปทรงได้ใกล้เคียงที่สุด มีข้อดี คือ ด้านความคงทน และอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่าขนจากธรรมชาติ โดยเฉพาะขนสีทอง และ Raphael ก็เป็นยี่ห้อเดียวที่ผลิตพู่กันโดยใช้ขน Synthetic พู่กันสีน้ำมัน พู่กันสีน้ำมันทีดีควรมีลักษณะขนพู่กันที่แข็ง เพราะต้องสามารถรองรับ และทนต่อความหนา ความหนักของสีและมีเดียมต่างๆของสีน้ำมันได้ พร้อมทั้งต้องมีแรงสปริงตัว คืนกลับเข้าที่เดิมได้ดี ทำจากขนสัตว์ ขนหมู ( Hog Bristles ) มีลักษณะขนที่แข็งเป็นเส้น ปลายขนจะแยกเป็นแฉก สามารถรองรับน้ำหนักของสี และ มีเดียม และมีแรงสปริงคืนตัวได้ดี ขนสังเคราะห์ สำหรับงานสีน้ำ และสีอคริลิค ขน Synthetic เป็นขนสังเคราะห์ที่มีปลายขนสีเข้ม และแหลม เป็นใยสังเคราะห์ที่ดีที่สุด มีความยึดหยุ่นสูง, มีความคงทน มีแรงสปริงตัวที่ดี และอ่อนพริ้ว ขนไนลอน หรือขนสังเคราะห์ 3 ชนิด เป็นขนที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว คือสามารถอุ้มสีได้มาก และมีแรงสปริงตัวกลับคืนสูง “Pyramid เป็นพู่กันที่ผลิตโดยใช้ขนสังเคราะห์ 3 ประเภทในการผลิตพู่กัน 1 ด้าม” ขน Golden Taklon เป็นขนสังเคราะห์พิเศษ ขนมีสีทอง สามารถอุ้มสี และอุ้มน้ำได้มาก มีความยึดหยุ่นสูง ความแข็งแรงของขนทำให้สามารถรองรับน้ำหนักของสีได้ดี “Pyramid เป็นยี่ห้อเดียวที่ผลิตพู่กันจากขน Golden Taklon ในการผลิตพู่กัน”
การดูแลรักษา ทำความสะอาดพู่กัน
การดูแลพู่กันอย่างดีก็จะทำให้พู่กันมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากระบายสีเสร็จ อย่าใส่พู่กันลงในภาชนะใส่น้ำในลักษณะเอาขนพู่กันแช่ลงไป เพราะจะทำให้ขนพู่กันเสียรูปทรง ล้างพู่กันให้สะอาดเมื่อเลิกใช้ในแต่ละวัน
วิธีทำความสะอาดพู่กันสีน้ำและสีอคริลิค
1. ล้างพู่กันด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำอุ่น
2. ล้างด้วยสบู่เหลวอีกครั้ง
3. ล้างสบู่ออกด้วยการล้างกับน้ำก๊อกเปิดไหลอ่อนๆ โดยขยี้เบาๆในฝ่ามือ
4. จัดขนพู่กันให้เรียบร้อย เช็ดด้ามให้แห้งแล้ววางไว้บนผ้านุ่มๆ
5. เก็บพู่กันโดยเอาด้ามพู่กันลง
วิธีทำความสะอาดพู่กันสีน้ำมัน
1. ใช้ผ้าเช็ดสีที่เหลือค้างที่ขนพู่กัน
2. ล้างพู่กันด้วยน้ำมัน Turpentine
3. ล้างด้วยน้ำอุ่นอีกครั้ง แล้วล้างด้วยสบู่เหลว จนหมดคราบสี
4. ล้างสบู่ออกด้วยการล้างกับน้ำก๊อกเปิดไหลอ่อนๆโดยขยี้เบาๆในฝ่ามือ
5. จัดขนพู่กันให้เรียบร้อย เช็ดด้ามให้แห้งแล้ววางไว้บนผ้านุ่มๆ
6. เก็บพู่กันโดยเอาด้ามพู่กันลง

ศัพท์ศิลปะ

โครงสร้างเคลื่อนไหว (mobile) เป็นงานประติมากรรมที่มีโครงสร้างบอบบางจัดสมดุลด้วยเส้นลวดแข็งบาง ๆ ที่มีวัตถุรูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ ที่ออกแบบเชื่อมติดกับเส้นลวด เป็นเครื่องแขวนที่เคลื่อนไหวได้ด้วยกระแสลมเพียงเบา ๆ
งานสื่อผสม (mixed media) เป็นงานออกแบบทางทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยหลายสื่อโดยใช้วัสดุหลาย ๆ แบบ เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ สร้างความผสมกลมกลืนด้วยการสร้างสรรค์
จังหวะ (rhythm) เป็นความสัมพันธ์ของทัศนธาตุ เช่น เส้น สี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักในลักษณะของการซ้ำกัน สลับไปมา หรือลักษณะลื่นไหล เคลื่อนไหวไม่ขาดระยะจังหวะที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันจะช่วยเน้นให้เกิดความเด่น หรือทางดนตรีก็คือการซ้ำกันของเสียงในช่วงเท่ากันหรือแตกต่างกันจังหวะให้ความรู้สึกหรือความพอใจทางสุนทรียภาพในงานศิลปะ
ทัศนธาตุ (visual elements) สิ่งที่เป็นปัจจัยของการมองเห็นเป็นส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพ ได้แก่ เส้น น้ำหนัก ที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง สี และลักษณะพื้นผิว
ทัศนียภาพ (perspective) วิธีเขียนภาพของวัตถุให้มองเห็นว่ามีระยะใกล้ไกล
ทัศนศิลป์ (visual art) ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการเห็น ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และงานสร้างสรรค์อื่น ๆ ที่รับรู้ด้วยการเห็น
ภาพปะติด (collage) เป็นภาพที่ทำขึ้นด้วยการใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า เศษวัสดุธรรมชาติ ฯลฯ ปะติดลงบนแผ่นภาพด้วยกาวหรือแป้งเปียก
วงสีธรรมชาติ (color circle) คือวงกลมซึ่งจัดระบบสีในแสงสีรุ้งที่เรียงกันอยู่ในธรรมชาติ สีวรรณะอุ่น จะอยู่ในซีกที่มีสีแดงและเหลือง ส่วนสีวรรณะเย็นอยู่ในซีกที่มีสีเขียว และสีม่วง สีคู่ตรงข้ามกันจะอยู่ตรงกันข้ามในวงสี
วรรณะสี (tone) ลักษณะของสีที่แบ่งตามความรู้สึกอุ่นหรือเย็น เช่น สีแดง อยู่ในวรรณะอุ่น (warm tone) สีเขียวอยู่ในวรรณะเย็น (cool tone)
สีคู่ตรงข้าม (complementary colors) สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงสีธรรมชาติเป็นคู่สีกัน คือ สีคู่ที่ตัดกันหรือต่างจากกันมากที่สุด เช่น สีแดงกับสีเขียว สีเหลืองกับสีม่วง สีน้ำเงินกับสีส้ม
องค์ประกอบศิลป์ (composition of art) วิชาหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสร้างรูปทรงในงานทัศนศิลป์

ชนิดของสี

สีน้ำ WATER COLOUR สีน้ำ เป็น สีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในแถบยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่นซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำ แต่ในอดีตการระบายสีน้ำมักใช้เพียงสีเดียว คือ สีดำผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงาม จะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูงมาก การระบายสีน้ำจะใช้น้ำ เป็นส่วนผสม และทำละลายให้เจือจาง ในการใช้สีน้ำ ไม่นิยมใช้สีขาวผสม เพื่อให้มีน้ำหนัก อ่อนลง และไม่นิยมใช้สีดำผสมใ ห้มีน้ำหนักเข้มขึ้น เพราะจะทำให้เกิดน้ำหนัก มืดเกินไป แต่จะใช้สีกลาง หรือ สีตรงข้ามผสมแทน ลักษณะของภาพวาดสีน้ำ จะมีลักษณะใส บาง และ สะอาด การระบายสีน้ำต้องใช้ความชำนาญสูง เพราะผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยาก จะระบายซ้ำ ๆ ทับกันมาก ๆ ไม่ได้ เพราะจะทำให้ภาพออกมามีสีขุ่น ๆ ไม่น่าดู หรือที่เรียกว่า สีเน่า สีน้ำที่มีจำหน่าย ในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอด เป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลาย น้ำได้ มีทั้งลักษณะที่โปร่งแสง ( Transparent ) และกึ่งทึบแสง ( Semi-Opaque ) ซึ่งจะมีระบุ ไว้ข้างหลอด สีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิว ขรุขระ หยาบ
สีโปสเตอร์ POSTER COLOUR สีโปสเตอร์ เป็นสีชนิด สีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำ บรรจุเสร็จเป็นขวด การใช้งานเหมือนกับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มีเนื้อเรียบได้ และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค สามารถ ระบายสีทับกันได้ มักใช้ในการวาดภาพ ภาพประกอบเรื่อง ในงานออกแบบ ต่าง ๆ ได้สะดวก ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว
สีชอล์ค PASTEL สีชอล์ค เป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้วปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไป แล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี แต่มีเนื้อละเอียดกว่า แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่ามาก มักใช้ในการวาดภาพเหมือน
สีฝุ่น TEMPERA สีฝุ่น เป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์ ได้มาจากธรรมชาติเช่น ดิน หิน แร่ธาตุ พืช สัตว์ นำมาทำให้ละเอียดเป็นผง ผสมกาว และน้ำ กาว ทำมาจากหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ สำหรับช่างจิตรกรรมไทยใช้ ยางมะขวิด หรือกาวกระถิน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีเกาะติดพื้นผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้โดยง่าย ในยุโรปนิยมเขียนสีฝุ่น โดยผสมกับกาวยาง กาวน้ำ หรือ ไข่ขาว สีฝุ่น เป็นสีที่มีลักษณะ ทึบแสง มีเนื้อสีค่อนข้างหนา เขียนสีทับ กันได้ สีฝุ่นมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไป โดยเฉพาะภาพฝาผนัง ในสมัยหนึ่งนิยมเขียนภาพผาฝนัง ที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco)โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนที่ฉาบผนังยังไม่แห้งดี เนื้อสีจะซึมเข้าไป ในเนื้อปูน ทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย สีฝุ่นในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผง เมื่อใช้งานจะนำมาผสมกับน้ำโดย ไม่ต้องผสมกาว เนื่องจากในกระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาแล้ว การใช้งานหมือนกับสีโปสเตอร์
ดินสอสี CRAYON ดินสอสี เป็นสีผงละเอียด ผสมกับขี้ผึ้ง หรือไขสัตว์ นำมาอัดให้เป็นแท่งอยู่ในลักษณะของดินสอ เพื่อให้เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ใช้งาน มีลักษณะคล้ายกับสีชอล์ค แต่เป็นสีที่มีราคาถูก เนื่องจากมีส่วนผสม อื่น ๆ ปะปนอยู่มาก มีเนื้อสีน้อยกว่า ปัจจุบัน มีการพัฒนาให้สามารถละลายน้ำ หรือน้ำมันได้ โดยเมื่อใช้ดินสอสีระบายสีแล้ว นำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายต่อ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับภาพสีน้ำ ( Aquarelle ) บางชนิด สามารถละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งทำให้กันน้ำได้
สีเทียน OIL PASTEL สีเทียน หรือ สีเทียนน้ำมัน เป็นสีฝุ่นผงละเอียด ผสมกับไขมันสัตว์ หรือขี้ผึ้ง แล้วนำมาอัดเป็นแท่ง มีลักษณะทึบแสง สามารถเขียนทับกันได้ การใช้สีอ่อนทับสีเข้ม จะมองเห็นพื้นสีเดิมอยู่บ้าง การผสมสี อื่น ๆ ใช้การเขียนทับกัน สีเทียนน้ำมันมักไม่เกาะติดพื้น สามารถขูดสีออกได้ และกันน้ำ ถ้าต้องการให้สีติดแน่นทนนาน จะมีสารพ่นเคลือบผิวหน้าสี สีเทียนหรือ สีเทียนน้ำมัน มักใช้เป็นสีฝึกหัดสำหรับเด็ก เนื่องจากใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน และมีราคาถูก
สีอะครีลิค Acrylic COLOUR สีอะครีลิค เป็นสีที่มีส่วนผสมของ สารพลาสติกโพลีเมอร์ ( Polymer) จำพวก อะครีลิค ( Acrylic ) หรือ ไวนิล ( Vinyl ) เป็นสีที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ล่าสุด วลาจะใช้ นำมาผสมกับน้ำ ใช้งานได้เหมือนกับสีน้ำ และสีน้ำมัน มีทั้งแบบโปร่งแสง และทึบแสง แต่จะแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน 1 - 6 ชั่วโมง เมื่อแห้งแล้ว จะมีคุณสมบัติกันน้ำได้ และเป็นสีที่ติดแน่นทนนาน คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ ยึดเกาะติดผิวหน้าวัตถุได้ดี เมื่อระบายสีแล้ว อาจใช้ น้ำยาวานิช ( Vanish ) เคลือบผิวหน้า เพื่อป้องกันการขูดขีด เพื่อให้คงทนมากยิ่งขึ้น สีอะครีลิคที่ใช้วาดภาพ บรรจุในหลอด มีราคาค่อนข้างแพง
สีน้ำมัน OIL COLOUR สีน้ำมัน ผลิตจากการผสมของสีฝุ่น กับ น้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันลินสีด ( Linseed ) ซึ่งกลั่นมาจาก ต้นแฟลกซ์ หรือน้ำมันจาก เมล็ดป๊อบปี้ สีน้ำมันเป็นสีทึบแสง เวลาระบาย มักใช้ สีขาว ผสมให้ได้น้ำหนัก อ่อน แก่ งานวาดภาพสีน้ำมัน มักเขียนลงบนผ้าใบ (Canvas ) มีความคงทนมาก และ กันน้ำ ศิลปิน รู้จักใช้สีน้ำมัน วาดภาพมาหลายร้อยปีแล้ว การวาดภาพสีน้ำมัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือ เป็นปีก็ได้ เนื่องจากสีน้ำมัน แห้งช้ามาก ทำให้ไม่ต้องรีบร้อน สามารถวาดภาพสีน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ ๆ และสามารถแก้ไขงาน ด้วยการเขียนทับ งานเดิม สีน้ำมันสำหรับเขียนภาพ จะบรรจุในหลอด ซึ่งมีราคา สูง ต่ำ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ การใช้งานจะผสมด้วยน้ำมันลินสีด ซึ่งจะทำให้เหนียว และเป็นมัน แต่ถ้าใช้ น้ำมันสน จะทำให้แห้งเร็วขึ้น และสีด้าน พู่กันที่ใช้ระบายสีน้ำมัน เป็นพู่กันแบน ที่มีขนแข็ง ๆ สีน้ำมัน เป็นสีที่ศิลปินส่วนใหญ่ นิยมใช้วาดภาพ มาตั้งแต่สมัย เรอเนซองส์ ยุคปลาย

ศิลปินแห่งชาติ

นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๖๕ เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญในด้านประติมกรรม ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและทั่วไป ได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมทั้งที่เป็นงานศิลปะแบบปัจจุบันและประเพณีไว้มากมาย ได้ส่งผลงานเข้าร่วมแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้งและได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าปฏิบัติราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ ได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนเกษียณอายุราชการ ผลงานประติมากรรมมีแสดงถาวรอยู่ในพิพิธภัณฑสถานทั้งในประเทศและต่างประเทศผลงานประติมากรรมแบบปัจจุบันเป็นผลงานบุกเบิกในแนวทางสัจจะนิยมของประเทศไทยและผลงานประเพณีเป็นการอนุรักษ์และสืบต่อศิลปะแบบประเพณีของชาติ ในด้านวิชาการนั้นได้เป็นอาจารย์สอนวิชาประติมากรรมในยุคบุกเบิกและก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๖ และยังทำหน้าที่นี้อยู่ในฐานะอาจารย์พิเศษ ด้วยบทบาทที่สำคัญในด้านวิชาการนี้ จึงได้รับปริญญาศิลปะดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยความสามารถดีเด่น จึงได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๒๙
ถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2482 ที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ถวัลย์ ดัชนี ศึกษาชั้นมูลและระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 ของสมัยนั้นถวัลย์ได้รับทุนมาเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง และได้เป็นนักเรียนดีเด่น ด้วยฝีมือการวาดรูปที่แม่นยำ เฉียบคม ฉับไว จึงเป็นหนึ่งในนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้านจิตรกรรม ที่ีผลงานได้รับการคัดเลือกไปแสดงในหอศิลป์แห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น ถวัลย์ ดัชนี ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้เป็น ศิษย์รุ่นท้ายๆ ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีตอนเรียนอยู่ที่ศิลปากรในชั้นปีที่ี 1 ถวัลย์ ดัชนี ทำคะแนนการวาดรูปได้ถึง 100+ แต่เมื่อขึ้นปี 2 เขากลับทำได้แค่ 15 คะแนน เพราะเหตุผลที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีให้ไว้ว่า ปลาของนายไม่มีกลิ่นคาว นกของนายแหวกว่ายไปในอากาศไม่ได้ ม้าของนายไม่สามารถที่จะควบหรือวิ่งทะยานออกไปได้ นายเป็นเพียงแค่นักลอกรูป มันไม่ใช่งานศิลปะคำวิจารณ์ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีดังกล่าวนี้้ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เปลี่ยนแปลงการทำงานทุกอย่างใหม่หมดเขาจึงได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัยศิลปะอัมสเตอร์ดัม ที่แห่งนี้เองที่ถวัลย์ได้เรียนร่วมชั้นเดียวกันกับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีศิลปินแห่งชาติเกิดขึ้น 3 คนจากสถาบันแห่งนี้ นั่นคือ ศิลปินแห่งชาติของอินโดนีเซีย ด้านการแกะสลัก, ศิลปินแห่งชาติของอเมริกา ชาวสวิตเซอร์แลนด์ นามว่า Giger (ไกเกอร์ หรือ กีเกอร์ ถ้าอ่านแบบเยอรมัน) ซึ่งเป็นศิลปินที่วาดรูปออกแนวอวกาศและเป็นผู้ออกแบบเอเลี่ยน และศิลปินแห่งชาติของไทย ถวัลย์ ดัชนีเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น รูปเขียนขนาดใหญ่ของเขาหลายรูป ถูกนักเรียนกรีดทำลายด้วยเหตุที่ว่างานของเขานั้นดูหมิ่นพระพุทธศาสนา ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เลิกแสดงผลงานในประเทศไทยไปนานหลายปี กว่าคนไทยจะยอมรับได้ ก็ต้องใช้เวลานานถึงสามสิบกว่าปี ในปัจจุบันผลงานของเขาได้รับการยอมรับ และได้รับการยกย่องชื่นชมว่าเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ อีกทั้งเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมงานศิลปะทั่วไปอีกด้วยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา ท่านได้สร้างผลงานถาวรไว้หลายแห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น จิตรกรรม ฝาผนังสถานเอกอัครราชทูตไทยในบัวโนสไอเรส กรุงเวียนนาและกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน กรุงเทพ ฯ บ้านพักเคแอลเอ็ม อาคารเชลล์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร พระตำหนักดอยตุง เชียงราย ปราสาทคร็อททอร์ฟในเยอรมัน ตราประจำตระกูลของบุคคลสำคัญในยุโรป ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา หอศิลป์ส่วนตัวที่เชียงราย ศาลาไทยที่ศูนย์วัฒนธรรมไทย ประเทศเยอรมนี ท่านได้รับเชิญเป็นศิลปินที่พำนักชั่วคราวในอิสราเอล เยอรมนี อเมริกา ตรุกี ญี่ปุ่น และสอนศิลปะชั้นสูงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เคยได้รับเหรียญทองสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมจากสมาคมสถาปนิกสยาม ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อพ.ศ. 2544 ปัจจุบันถวัลย์ ดัชนี เป็นศิลปินอิสระ มีบ้านพักอยู่ในเขตตัวเมืองเชียงรายนายทวี นันทขว้าง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ท่านได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๔ รวมอายุได้ 66 ปี นายทวีเป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญทางด้านจิตรกรรมซึ่งคนในวงการศิลปะยอมรับนับถือโดยทั่วไป เนื่องจากท่านได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไว้เป็นจำนวนมาก เคยได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้ง รางวัลสูงสุดอันดับหนึ่งของท่านคือ ศิลปินชั้นเยี่ยมจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้หนึ่งที่บุกเบิกงานจิตรกรรมที่มีอิทธิพลแก่ยุวศิลปินอีกหลายคน
ด้านวิชาการ นายทวีเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ผลงานทางศิลปะของได้พัฒนาและคลี่คลายอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ถือเป็น คุณลักษณะพิเศษ ในงานของนายทวี คือการผสมผสานระหว่างแบบเหมือนจริงกับแบบเหนือจริงตามแบบของตนเองอย่างอิสระผลงานของนายทวีจึงไม่ผาดโผน ทว่าเป็นไปอย่างเรียบ ๆ ประณีต ลึกซึ่ง มีสมาธิ วุฒิภาวะ และความมั่นใจ
นายทวี นันทขว้าง เริ่มเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๖ – ๒๔๘๐ จนสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากนั้นในระหว่าง พ.ศ .๒๔๘๐ – ๒๔๘๖ เรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดลำพูน ๖ ปี โดยสำเร็จชั้นมัธยมศึกษา ในปี พ.ศ .๒๔๘๘ – ๒๔๙๑ ศึกษาต่อที่ Academy of Fine Arts of Rome และสำเร็จการศึกษาขั้น DIPOMA ACADEMIA DI BELLE ART DI ROMA
นายทวี นันทขว้าง เริ่มงานโดยเป็นครูชั้นตรีสอนที่โรงเรียนเพาะช่างในช่วงปี
พ.ศ .๒๔๙๒ – ๒๔๙๖ ในพ.ศ. ๒๔๙๗ ประจำแผนกเผยแพร่และประกวด กองส่งเสริมและเผยแพร่กรมการข้าว พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยศิลปกรให้เป็นผู้ถวายคำแนะนำด้านศิลปกรรมแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
พ.ศ.๒๕๐๕ ได้สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในคณะจิตรกรรมประติมากรรมตำแหน่ง อาจารย์และได้เลื่อนเป็นอาจารย์เอกใน พ.ศ.๒๕๑๗ ได้ลาออกไปประกอบอาชีพส่วนตัวในระยะหนึ่งและได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยศิลปากรอีก ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ต่อมา
พ.ศ.๒๕๒๓ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ ๗ ภาควิชาประยุกต์ศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๘ ท่านได้เกษียณอายุราชการแล้วประกอบอาชีพเป็นศิลปินอิสระนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งเสียชีวิต

27 สิงหาคม 2552

พระเจ้าอยู่หัวกับงานศิลปะ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานศิลปกรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาศิลปไทยจากพระเทวาภินิมมิต และศิลปินอาวุโสได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อร่วมปฏิสันถาร ถวายคำปรึกษาแด่พระองค์ มีหลายคนดังนี้คือ ครูเหม เวชกร, เขียน ยิ้มศิริ, จำรัส เกียรติก้อง, เฟื้อ หริพิทักษ์, ไพทูรณ์ เมืองสมบูรณ์, จุลทัศน์ พยาฆรานนท์, เฉลิม นาคีรักษ์, อวบ สาณะเสน และพิริยะ ไกรฤกษ์ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยงานศิลปะด้านจิตรกรรมตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ครั้งที่ประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างปี พ.ศ. 2480 - 2484 โดยทรงศึกษาด้วยพระองค์เอง ทรงฝึกเขียนจากตำราที่ทรงซื้อ และมีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย และเมื่อสนพระราชหฤทัยผลงานของศิลปินผู้ใด ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมศิลปินผู้นั้นถึงที่พัก ทรงมีพระราชปฏิสันถารและทอดพระเนตรวิธีการทำงาน จนทรงเข้าพระราชหฤทัยในการสร้างสรรค์ของศิลปินเหล่านั้นเป็นอย่างดี ผลงานจิตรกรรมซึ่งทรงเขียนภาพเหมือนในยุคแรก ๆ ตั้งแต่ปี 2502 - 2503 ทรงศึกษาความถูกต้องจากต้นแบบ และใช้ฝีแปรงระบายแสงเงาอย่างนุ่มนวล บรรยากาศและท่าทางของแบบที่จัดวางจะเป็นภาพด้านหน้า และด้านข้างตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทูลกระหม่อมทุกพระองค์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มเขียนภาพที่มีลักษณะเป็นภาพนามธรรมมากขึ้น เช่น ภาพมือแดง และในระยะต่อ ๆ มา ทรงเขียนภาพผสมผสานระหว่างข้อมูลที่ทรงเห็นจากธรรมชาติกับพระราชดำริส่วนพระองค์ จนเกิดเป็นรูปทรงของสิ่งที่ทรงเห็น แต่มีการตัดทอนพิ่มเติมตามแนวความคิดส่วนพระองค์ จนเกิดเป็นรูปทรงใหม่ขึ้น เมือ่ได้เห็นผลงานก็จะนึกถึงที่มาของเรื่องราวได้ และที่ยังคงมีอยู่ก็คือเรื่องราวเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องกับคนและใบหน้า และเริ่มมีบางภาพที่มีรูปร่างของคนเต็มตัว เทคนิคในการเขียนภาพที่เคยใช้ฝีแปรงนุ่มนวลเปลี่ยนแปลงไป ทรงเขียนสีน้ำมันทับซ้อนหนาเป็นก้อน และใช้ฝีแปรงที่มีความเคลื่อนไหวฉับพลันมากขึ้น การแสดงออกของสีเปลี่ยนแปลงไปจากความเป็นจริง มีลักษณะส่วนตัวมากขึ้น การตัดทอนโครงเส้นเกิดขึ้นตามจินตนาการ และการเขียนภาพกึ่งนามธรรมนั้น ภาพแต่ละภาพจะมีเนื้อหาตามความคิดของพระองค์เป็นแนวทางกำหนด องค์ประกอบของเส้น รูปทรง และสี ที่ทรงใช้จะสอดคล้องตามแนวคิดของภาพนั้นๆ

ศิลปินของโลก

โอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 1995 (ค.ศ. 1452) - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1519)) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ. ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The Last Supper) และ โมนา ลิซ่า (Mona Lisa) งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้นชีวประวัติเลโอนาร์โด เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยที่ๆเขาเกิดอยู่ห่างจากหมู่บ้านวินชี ในประเทศอิตาลี ไปราวสองกิโลเมตร บิดาชื่อนายแซร์ ปีเอโร ดา วินชี เป็นเจ้าพนักงานรับรองเอกสารของรัฐ มารดาชื่อคาตารีนา เป็นสาวชาวนา เคยมีคนอ้างว่านางคาตารีนาเป็นทาสสาวจากประเทศแถบตะวันออกในครอบครองของปีเอโร แต่ก็ไม่มีหลักฐานเด่นชัดในสมัยนั้นยังไม่มีมาตรฐานการเรียกชื่อและนามสกุลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ทำให้ชื่อและนามสกุลของดา วินชี ที่แท้จริงคือ เลโอนาร์โด ดิ แซร์ ปีเอโร ดา วินชี ซึ่งหมายความว่า เลโอนาร์โด บุตรชายของปีเอโร แห่ง วินชี แต่เลโอนาร์โดเองก็มักจะลงลายเซ็นในงานของเขาอย่างง่ายๆว่า เลโอนาร์โด หรือไม่ก็ ข้าเอง เลโอนาร์โด เอกสารสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่าผลงานของเขาเป็นของ เลโอนาร์โด โดยไม่มี ดา วินชี พ่วงท้าย ทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่ได้ใช้นามสกุลของบิดาเนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสนั่นเอง
ออกุสต์ เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir) (พ.ศ. 2384 - พ.ศ. 2462) เป็นจิตรกร ชาวฝรั่งเศส บิดาเป็นช่างตัดเสื้อ เป็นบุตรคนที่ 6 จาก 7 คน ต่อมาในอายุ 23 ปี เรอนัวร์สมัครใจที่จะเป็นนักวาดภาพอิสระ เรอนัวร์เป็นจิตรกรที่ประสบความลำบากอยู่มากมาย เพราะเรอนัวร์เป็นผู้ที่ชอบวาดภาพเปลือย ในช่วง 1890 เป็นต้นไป เรอนัวร์จะวาดภาพเปลือยอย่างอิสระ ในช่วงที่เป็นไขข้ออักเสบ ถึงจะนั่งรถเข็นหรือเอาพู่กันมาติดมือข้างแข็งไว้ก็ตาม เขาก็ให้คนอื่นระบายภาพให้ คำว่า "ดอกไม้" คือคำสุดท้ายที่เรอนัวร์ได้พูดก่อนที่จะเสียชีวิตในขณะที่เขาจัดแบบที่เขาเขียน เรอนัวร์ได้เสียชีวิตอย่างสงบในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2462
ซัลวาดอร์ โดมิงโก เฟลีเป คาซินโต ดาลี โดเมเนช (Salvador Domingo Felipe Jacinto Dalí Doménech) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dalí) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 – 23 มกราคม พ.ศ. 2532) เป็นจิตรกรชาวสเปน มีชื่อเสียงจากผลงานภาพวาดแนวเหนือจริง ดาลีเป็นลูกชายคนเดียวของบ้าน เนื่องจากก่อนที่เขาจะเกิดไม่นาน พี่ชายของเขาได้เสียชีวิตลง ทำให้พ่อและแม่ รักและหวงแหนเขามาก เขามีงานแสดงศิลปะตอนอายุ 14 ปีที่บ้านของเขาเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่ เขาศึกษาศิลปะที่โรงเรียนสอนศิลปะแห่งหนึ่งในกรุงมาดริด แต่ว่าไม่เคยเข้าสอบเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะเขาคิดว่าไม่มีใครสามารถตัดสิน "ศิลปะ" ได้ และเขาก็ไม่ใส่ใจด้วยถึงแม้ว่าจะโดนไล่ออกถึงสองครั้งก็ตาม (ช่วงนี้ได้พบกับ กาเซีย ลอกา ซึ่งต่อมากลายเป็นกวีเอกคนนึงของสเปน) เขาทำทุกอย่างเพื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะในแบบของต้วเอง เมื่อดาลี อายุได้ 20 ปี โดนจับข้อหาทางการเมือง อีก 5 ปีต่อมา ได้เข้าร่วมกับศิลปินกลุ่ม Surrealism มุ่งหมายเน้นความเพ้อฝันเหนือจริง และช่วงนี้เองที่เขาได้พบกับ ปาโบล ปีกัสโซ จิตรกรเอกอีกคนหนึ่ง ช่วงนี้เองที่ดาลีได้อยู่กินกับกาลา (Gala) ที่เป็นทั้งเพื่อนคู่คิด นางแบบและมีงานทำนิตยสารด้วยกัน ช่วงอายุที่ได้ 34 ปีการเขียนรูปของดาลีเริ่มพัฒนาจนกลายมาเก็นแนวที่เห็นกันในปัจจุบัน เช่น รูป Sublime Moment และรูป The Transparent Simulacrum Of The Forged Lmage ที่ถูกเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2481 ดาลี ออกไปอยู่ที่อเมริกานานถึง 8 ปี ปี พ.ศ. 2498 เริ่มเขียนงานแนวศาสนา เช่นภาพ Crucifixion (จะสังเกตุได้ว่าเขาเริ่มเบนมาทำงานแนวศาสนาประมาณปี พ.ศ. 2495) ซึ่งก็เป็นเหตุให้เขาถูกขับออกจากกลุ่ม Surrealism (แต่ดาลีบอกว่าเขานี่แหละคือ Surrealism) กาลา ภรรยาของเขาได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2525 ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ดาลี ก็เสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมอายุได้ 85 ปี ซัลวาดอร์ ดาลี ได้เป็นแบบอย่างให้กั ศิลปินรุ่นหลังหลายต่อหลายคน ด้วยความที่งานของเขามีอัตตาดิบอยู่สูงและความที่เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์ในการเขียนรูป ซัลวาดอร์ ดาลี ได้เป็นคนออกแบบสัญลักษณ์ Chupa Chups อมยิ้มที่มีขายในปัจจุบันไว้ด้วย รวมถึงสิ่งของอีกหลายอย่างในสตูดิโอของเขาเอง
ฟินเซนต์ ฟาน ก็อกฮ์ (อ่านตามการออกเสียงแบบ ภาษาดัตช์ ชื่อเต็ม Vincent Willem van Gogh เกิด 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 – 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1890) แต่คนไทยโดยทั่วไปมักจะชินกับชื่อ วินเซ้นต์ แวน โก๊ะ มากกว่า ฟาน ก็อกฮ์ เกิดที่ เมืองบราบัง ตำบลซันเดิร์ต ประเทศฮอลแลนด์ (เป็นเมืองที่ติดกับชายแดน เบลเยียม)ในปี 1853 วันที่ 30 มีนา มีพ่อเป็นนักบวช ในศาสนาคริสต์ มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 6 คน เป็นชนชั้นกลางที่มีชีวิตแบบแคบๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เขาเป็นเด็กหนุ่มที่ดูเงอะงะ ไม่คล่องแคล่วเหมือนคนมีปมด้อย ค่อนข้างใจน้อย จึงชอบอยู่คนเดียว และมีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย อ่อนโยน มีความเมตตาต่อคนทุกข์ยาก ทำให้ทุกคนมองเขาว่าเป็นคนเจ้าอารมณ์ น่ารำคาญ เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาได้เข้าทำงานที่ ห้องภาพแห่งหนึ่งที่กรุงเฮก กับญาติที่ทำงานด้านศิลปะ และเมื่อเขามีอายุได้ 18 ปี เขาก็ถูกส่งตัวไปยังห้องภาพที่ สาขาปารีส ด้วยความที่เขาเป็นคนซื่อ และความเบื่อหน่ายที่ทางห้องภาพเอารูปเลวๆมาหลอกขายกับคนที่ไม่รู้จักศิลปะ เขาถึงกับบอกให้ลูกค้าไม่ให้ซื้อภาพนั้น จนกระทั่งทางร้านไม่พอใจไล่เขาออกจากงานในที่สุด หลังจากนั้น เขาจึงหันไปศึกษาทางศาสนาอย่างจริงจัง หลังจากสอบเข้าวิทยาลัยศาสนาที่นครอัมสเตอร์ดัม ได้ 14 เดือนเขาพบว่าไม่ได้อะไรตามที่เขาตั้งใจจึงเลิกเรียนเสียและได้ย้ายไปอยู่ในเหมืองถ่านหิน ในตำบลบอริเนจ เพื่อเทศนาสั่งสอน ช่วยเหลือคนทุกยาก ในเหมืองนั้น โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เขาอุทิศเงินจำนวนหนึ่งให้กับคนทุกยากโดยที่ตนเองมีเงินใช้อย่างจำกัด และต้องกินเศษขนมปัง ทำให้ร่างกายผอมลง และเป็น พิษไข้ เพราะการที่บริโภคที่ผิดอนามัย และความหนาวเหน็บจากองไฟกองเล็กที่ไม่อาจสู้กับความหนาวเย็นของอากาศได้ ทำให้ความงกๆเงิ่นๆ ของเขามีมากยิ่งขึ้น ฟาน ก็อกฮ์ เป็นคนที่พูดไม่เก่งทำให้การเทศนาสั่งสอนของเขาไม่อาจจับจิตชาวเหมืองได้ ประกอบกับความใจบุญของเขาทำให้คนเหล่านั้นมอง ว่าเขาเป็นคนแปลกแตกต่างจากคนเหมืองทำให้เขาเศร้าใจมาก และศาลพระก็ไม่ยอมแต่งตั้งให้เขาเป็นนักเทศน์ ในที่สุดชีวิตของเขาต้องเร่ร่อนไปอย่างไร้จุดหมาย เขาไม่ยอมแม้กระทั่งที่จะเขียนจดหมายถึง เธโอ น้องชายคนสนิทจนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1880 เขาได้เขียนจดหมายมาบอกกับ เธโอ น้องของเขาว่า เขาค้นพบแล้วว่า "ศิลปะคือ ทุกสิ่งทุกอย่างของเขา และเข้ามาแทนที่สิ่งอื่นๆจนหมด เขาใช้เวลาเพื่อศึกษามันด้วยตนเองอย่างจริงจัง ก่อนหน้านั้นเขาเคยเขียนรูปมามั่งแต่ไม่จริงจังเท่าไหร่ แต่หลังจากนี้ต่อไปมันคือ ชีวิตจิตใจของเขา" (จดหมายที่ ฟาน ก็อกฮ์ เขียนถึงน้องชายของเขา ต่อมาในปัจจุบันก็เป็นที่ต้องการและมีความสำคัญมากต่อการชมงานศิลปะของเขา) ฟาน ก็อกฮ์ ใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางสายศิลปะ อย่างลำบากยากแค้น เขายิงตัวเองเข้าทางสีข้างด้านซ้าย ในวันอาทิตย์ที่ 27 กรกฏาคม ปี 1890 หลังจากการเขียนรูปทางสามแพร่ง (Wheat Field with Crows) (งานชิ้นนี้อาจจะสื่อถึงการหาทางออกให้กับของชีวิตของเขาเอง ที่เปรียบเสมือนทาง 3 สายที่มาบรรจบกันทำให้เลือกไม่ถูกว่าจะไปทางใดต่อ) ซึ่งเป็นงานชิ้นสุดท้ายของเขาที่ทุ่งนา แต่เขาไม่ตายทันที เขาได้เอามือกดปากแผลไว้และเดินกลับมาที่ร้านกาแฟที่เขาพัก ฟาน ก็อกฮ์ สิ้นใจตายในวันอังคารที่ 29 กรกฏา ปี 1890 ท่ามกลางความเศร้าโสกเสียใจของเพื่อนๆ ศพของเขาถูกฝังไว้ในสุสานเล็กๆที่เมืองอูฟเวรซูอีรัว ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นอีก 1 ปีต่อมา เธโอ น้องชายก็สิ้นใจตายตามพี่ชายของเขาเนื่องจากโรคไต ศพของ เธโอ ถูกฝังที่นี่ และในอีก 23 ปีต่อมาภรยาของเธโอ จึงย้ายศพของเขาบางส่วนมาฝังไว้ใกล้ๆศพของ ฟานก็อกฮ์ ในที่สุดพี่น้องที่รักกันมาก ก็ได้มาอยู่ด้วยกันในสุสานเล็กๆที่เมืองอูฟเวร อย่างสงบสุขตลอดกาล
มีเกลันเจโล (Michelangelo, ผู้คนมักเข้าใจผิดเป็น ไมเคิล แองเจลโล) มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บัวนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) ศิลปินที่เข้าถึง 3 ศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขาไม่เป็นเพียงผู้ที่เข้าถึงแต่เพียงศาสตร์ด้านวิจิตรศิลป์ แต่เขายังเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม และประติมากรรมอีกด้วย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1475 และเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ ภายหลังเป็นผู้สร้างประติมากรรมหินอ่อนชื่อกระฉ่อนโลกนามว่า เดวิด (David)หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโล สร้างประติมากรรมรูปเดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมันนั่นเอง ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโลเดิมทีเป็นคนที่เกลียด เลโอนาโด ดาวินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก (คล้ายกับ การที่เสือสองตัวอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้) ในช่วงนี้ (1497-1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peters Basilica) ที่กรุงโรมตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับ พระสันตะปาปาจูเลียส ที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี 1545 ต่อมาในปี 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดมขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะ The Last Judgement(Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปีมีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี เสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 90 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจาก พระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของ มิเกลันเจโล ให้ยืนยาวออกไปอีก